ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้า

โดย : นางมาลัย ยาวเต่า วันที่ : 2017-06-23-10:03:20

ที่อยู่ : 37 หมู่ที่ 8 ชุมตาบง ตำบลชุมตาบง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เกิดจากการที่คุณแม่นำฝ้ายมาปั่นแล้วนำมาทอเป็นผ้าขาม้าไว้ใช่ในครัวเรือนจึงเรียนรู้และรวมกลุ่มชาวบ้านฝึกทอผ้าและแปรรูปเป็นกระเป๋า เป็นเสื้อ จำหน่ายทำให้มีรายได้ สามารถช่วยเหลือครอบครัวได้อีกทางหนึ่ง

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อรักษาและอนุรักษฺ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

๑. ฝ้าย ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสีสำเร็จและฝ้ายที่ต้องนำมาย้อมสีเอง

๒. กี่ทอผ้า การทอผ้าฝ้ายของกลุ่มสตรีบ้านเหล่าปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการทอด้วยกี่กระตุก เนื่องจากเป็นการทอผ้าที่มีหน้ากว้าง การทอด้วยกี่กระตุกช่วยทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มปริมาณความยาวของผ้าได้มากกว่าการทอผ้าที่พุ่งกระสวยด้วยมือ กี่กระตุกมี ๒ ขนาด คือ กี่ขนาดใหญ่ใช้ทอผ้าที่มีความกว้างมาก เวลาทอต้องใช้คน ๒ คนช่วยกันพุ่งกระสวยไปมา ส่วนกี่ขนาดที่สองเป็นกี่ขนาดเล็กซึ่งใช้แรงงานของคนทอเพียงคนเดียว

อุปกรณ์ ->

สดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทอผ้า

๑. ฝ้าย ฝ้ายที่ทอในปัจจุบันไม่ได้ปลูกเอง แต่จะซื้อสำเร็จรูป ซึ่งมีทั้งฝ้ายที่ย้อมสีสำเร็จและฝ้ายที่ต้องนำมาย้อมสีเอง

๒. กี่ทอผ้า การทอผ้าฝ้ายของกลุ่มสตรีบ้านเหล่าปัจจุบัน ส่วนใหญ่เป็นการทอด้วยกี่กระตุก เนื่องจากเป็นการทอผ้าที่มีหน้ากว้าง การทอด้วยกี่กระตุกช่วยทำให้การทอผ้ารวดเร็วขึ้น โดยเพิ่มปริมาณความยาวของผ้าได้มากกว่าการทอผ้าที่พุ่งกระสวยด้วยมือ กี่กระตุกที่พบในปัจจุบันมี ๒ ขนาด คือ กี่ขนาดใหญ่ใช้ทอผ้าที่มีความกว้างมาก เวลาทอต้องใช้คน ๒ คนช่วยกันพุ่งกระสวยไปมา ส่วนกี่ขนาดที่สองเป็นกี่ขนาดเล็กซึ่งใช้แรงงานของคนทอเพียงคนเดียว

กระบวนการ/ขั้นตอน->

นตอนการทอผ้าฝ้าย

ขั้นตอนที่ ๑ นำฝ้ายเป็นใจมาคลี่ออกใส่กงกว๊าง เพื่อนำไปพันใส่บ่าหลุกกวักฝ้าย แล้วนำมาขินหรือปั่นใส่กระป๋องหรือหลอดไม้ขนาดใหญ่ การปั่นฝ้ายใส่กระป๋อง ถ้าต้องการเส้นฝ้ายที่มีเส้นใหญ่ อาจจะปั่นครั้งละ ๒-๓ ใจ ให้เส้นฝ้ายมารวมกัน

ขั้นตอนที่ ๒ นำกระป๋องที่มีเส้นฝ้ายพันอยู่ไปเรียงตามลำดับ สี ของเส้นฝ้ายเส้นยืนตามลวดลายที่จะทอ โดยนำมาเรียงครั้งละประมาณ ๔๐ กระป๋อง จะได้เส้นฝ้ายยืนครั้งละ ๔๐ เส้น แล้วนำแต่ละเส้นไปคล้องกับบันไดลิง เพื่อไม้ให้เส้นฝ้ายพันกันและขึ้นเฟือขอต่อไป

ขั้นตอนที่ ๓ นำฝ้ายเส้นพุ่งจากบันไดลิงมาขึ้นเฟือขอ ซึ่งเฟือขอจะทำหน้าที่สำหรับเรียงฝ้ายเส้นยืนตามความยาวที่ต้องการ และทำการสลับเส้นยืนสำหรับใช้กับตะกอเส้นขึ้นเส้นลงด้านล่างของเฟือขอเมื่อสิ้นสุด การเรียงเส้นฝ้ายจะนำแต่ละเส้นมาม้วนเพื่อให้เกิดลักษณะของการสลับเส้น สำหรับการทอยกเป็นเส้นขึ้นเส้นลงที่ด้านล่างขาวของเฟือขอ

ขั้นตอนที่ ๔ นำกลุ่มฝ้ายเส้นยืนจากเฟือขอมาขึ้นกี่ แล้วคลี่ฝ้ายเส้นยืนตามที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้เขี้ยวหมาหรือฟันปลาเป็นตัวช่วยในการสางเส้นฝ้ายแต่ละกลุ่มเส้นออกจากกัน เส้นด้ายในการทอลายหนึ่ง เพื่อแยกเส้นด้ายในการนำไปสืบฝ้ายกับเขาฟืม

ขั้นตอนที่ ๕ หากทอลายเดิมที่เคยทอมา ก็จะนำฝ้ายเส้นยืนใหม่มาต่อกับเศษผ้าฝ้าย หรือเชิงชายที่ตัดมาจากการทอครั้งก่อนที่เรียกว่า "เครือ" เมื่อทอผ้าเสร็จแล้ว ช่างทอจะตัดผ้าที่ทอแล้วออกจากกี่ โดยคงเหลือเศษผ้าฝ้ายหรือเชิงชายจากการทอให้ติดอยู่กับตะกอและฟืม เพื่อเป็นต้นแบบของลาย หากจะมีการทอลายนั้นในครั้งต่อไป เพื่อให้การสืบต่อลายทำได้ง่ายขึ้น เพราะถ้าไม่เก็บไว้ การเริ่มต้นขึ้นลายใหม่จะมีความยากลำบากมาก ดังนั้นช่างทอจึงต้องเก็บลายไว้ทุกเครือ เนื่องจากเส้นยืนมีความยาวมาก ก่อนทอหรือเมื่อทอไปได้สักระยะหนึ่ง เส้นยืนอาจจะพันกันได้ ดังนั้นจึงต้องคอยคลี่จัดเส้นยืนออกไม่ให้พันกัน

ขั้นตอนที่ ๖ หลังจากการสืบลายแล้ว สามารถเริ่มกระบวนการทอได้ โดยการเหยียบไม้เหยียบเพื่อยกเขาฟืมขึ้นลง แล้วพุ่งกระสวยสอดเข้าไปในช่องว่างระหว่างเส้นยืน ให้เส้นพุ่งพุ่งไปขัดกับเส้นยืน และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งอัดเรียงกันแน่น แล้วใช้เท้าเหยียบไม้เหยียบให้ตะกอเส้นยืนสลับขึ้นลง และพุ่งกระสวยกลับไปกลับมาขัดกับเส้นยืน หลังจากที่พุ่งเส้นพุ่ง ไป มา และใช้ฟืมดันให้เส้นพุ่งแน่นหลายๆ ครั้ง ก็จะได้ผ้าทอเป็นผืน แล้วนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต่อไป

ข้อพึงระวัง ->

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา