ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายน้อย บุญบาง วันที่ : 2017-03-24-12:09:16

ที่อยู่ : 71/1 ม.4 ต.หนองบัว อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนที่สำคัญยิ่งต่อการดำรงชีวิตตั้งแต่อดีตตั้งแต่สมัยอยุธยาจนถึงปัจจุบัน   หัตถกรรมเครื่องจักสานเป็นตัวอย่างหนึ่งที่แสดงให้เห็นภูมิปัญญาอันเฉลียวฉลาดของคนในท้องถิ่น  ที่ใช้ภูมิปัญญาสามารถนำสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนมาประยุกต์ทำเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน  ซึ่งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิต  

                 จะเห็นได้ว่าหัตถกรรมเครื่องจักสานมีมานานแล้วและได้มีการพัฒนามาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง  การดำรงชีวิตประจำวันของชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ได้เอาการรู้หนังสือมาเกี่ยวข้อง  การเรียนรู้ต่างๆ  อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่าซึ่งไม่เป็นระบบในการบันทึก (ชูเกียรติ์  ลีสุวรรณ, 2535)  สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ ความรู้ที่สะสมที่สืบทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบันหรือที่เรียกกันว่าภูมิปัญญาท้องถิ่น ดังนั้นกระบวนถ่ายทอดความรู้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งที่ทำภูมิปัญญาท้องถิ่นนั้นคงอยู่ต่อเนื่องและยั่งยืน

               จากเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น  ผู้วิจัยจึงสนใจทำการศึกษากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาหัตถกรรมเครื่องจักสาน  ซึ่งมีความสำคัญยิ่งที่จะให้ภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้นๆคงอยู่ตลอดไป  ซึ่งผลจากการศึกษากระบวนถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นหัตถกรรมเครื่องจักสานนั้น  จะนำไปเป็นข้อมูลที่จะนำไปไปพัฒนากระบวนการถ่ายทอดภูมิปัญญาในชุมชนมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และดำรงอยู่คู่สังคมสืบต่อไป

 

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของไทยไว้ให้คนรุ่นหลัง

2.เพื่อนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม เพิ่มรายได้

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ไม้ไผ่

2.เชือก

3.ตะปู

อุปกรณ์ ->

1.มีด

2.เลื่อย

3.ฆ้อน

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. การจักตอกไผ่

1.1 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยตัดข้อปล้องแรกของไผ่ทิ้งเพื่อให้ผ่าลำไผ่ได้สะดวก

1.2 ผ่าลำไผ่ออกมาเป็นเส้น ๆ

1.3จักตอกเส้นไผ่เป็นตอกยืน ตอกยาว และตอกไผ่ตีน (ส่วนข้อไผ่ที่ มีตาไผ่)ความกว้างและความยาวของตอกแต่ละแบบโดยประมาณ คือ ตอกยืน ยาว 150 – 200 ซม. กว้าง1.5–2.5 ซม. ตอกยาว ยาว ประมาน 8 ม. กว้าง 1 - 2 ซม.และตอกไผ่ตีน 1.6–2.0 ซม. ซึ่งไผ่หนึ่งลำเหลาจักตอกได้ ตอกยืนที่ใช้สานสุ่มไก่ได้ 1 ใบ และตอกยาวสานสุ่มไก่ได้ 2 ใบ

2.การสานสุ่มไก่

2.1 ใช้ตอกยาว สานเป็นวงหัว

2.2 นำ วงหัว มาสานกับตอกยืนเป็นหัวสุ่มแบบลายขัด

2.3 ใช้ตอกยาวสานรอบ ๆ สุ่มไก่เพื่อขึ้นรูปแบบลายหนึ่ง (ยกหนึ่งข้ามหนึ่ง) โดยจุดเริ่มต้นของตอกยาว

แต่ละเส้นเปลี่ยน ตำแหน่งไปเรื่อย ๆ เพื่อให้สุ่มไก่ได้รูปทรงกลม

2.4 สานตีนสุ่มไก่ โดยใช้ตอกไผ่ตีนประมาณ 2- 5 เส้น

2.5 ใช้เลื่อยคันธนูเลื่อยหรือใช้ขวานตัดส่วนตอกยืนที่ยื่นยาวออกมาตรงตีนสุ่มไก่ทิ้งไป เพื่อมีฐานที่เท่ากัน

2.6 นำสุ่มไก่ที่สานเสร็จแล้วมาลนไฟเพื่อที่ทำให้ เศษเสี้ยวหนามของไม้ไผ่หายไป และทำให้สุ่มไก่ทนทานและ

มีอายุการใช้งานมากขึ้น

 

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา