ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

จักสานไม้ไผ่

โดย : นายสวัสดิ์ รัตนบัวพา วันที่ : 2017-03-24-11:15:43

ที่อยู่ : 32/3 ม.3 ต.ห้วยถั่วใต้ อ.หนองบัว จ.นครสวรรค์

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การทำงานหัตถกรรมเครื่องจักสานของไทย มีพื้นฐานมาจากสังคมเกษตรกรรม ช่างสานคือเกษตรกรรมในชนบท จะใช่ช่วง เวลาว่างหลังจากการทำไร่ทำนา เลือกใช้ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นมาผลิตงานหัตถกรรมด้วยใจรัก เพื่อความสุขความเพลิดเพลินตลอดจนสนองประโยชน์ใช้สอยต่อตนเองและครอบครัว รูปแบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานไม้ไผ่ จึงเป็นศิลปหัตถกรรม พื้นบ้านที่มีความงามบริสุทธิ์แบบธรรมชาติ สะท้อนถึงความเป็นอิสระและการแสดงออกของความคิดเฉลียวฉลาด ตลอดจนความสามารถของช่างสานในการเข้าใจวัสดุไม้ไผ่ผสานกลมกลืนกับสภาพแวดล้อมของการดำรงชีวิต ส่งผลให้มีการพัฒนารูป แบบผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานเป็นจำนวนมาก

ลักษณะที่โดดเด่นของจักสานจากไม้ไผ่ เกิดจากภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดด้วยการเรียนรู้และความตั้งใจ สนใจของผู้ผลิต ประกอบกับการดัดแปลงให้เกิดประโยชน์ใช้สอยที่คุ้มค่า มีคุณค่า เป็นของใช้ในครัวเรือน ที่ทำมาจากวัสดุจากธรรมชาติ สีสันสวยงามตามธรรมชาติ ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม

วัตถุประสงค์ ->

1.เพื่ออนุรักษ์ภูมิปัญญาการจักสานไม้ไผ่ และสืบททอดสู่ชนรุ่นหลัง

2.เพื่อนำไปประกอบเป็นอาชีพเสริม

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ไม้ไผ่สด
๒. เชือกไนล่อน
๓. ไม้ข่อย (เนื่องจากเป็นไม้ที่มีความเหนียวสามารถนำมาทำเป็นขอบเครื่องจักสานได้)

อุปกรณ์ ->

1.มีดพร้า มีดอีโต้ มีดตอก
2. เลื่อย
3. สว่าน
4. แลกเกอร์
5. กระดาษทราย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 เลือกไม้ไผ่ที่ไม่อ่อนไม่แก่เกินไป ผ่าออกเป็นชิ้นๆ
- ใช้มีดเหลาขนาดตามต้องการ
- เริ่มต้นการสานจาก ฐานล่างของผลิตภัณฑ์
- สานขึ้นรูปโดยมีใช้แบบ เพื่อช่วยในการขึ้นรูปตามแบบผลิตภัณฑ์
- สานจนถึงขอบผลิตภัณฑ์ นำไม้ข่อยมาติดที่ขอบของเครื่องจักสานเพื่อความ
เรียบร้อย คงทนสวยงาม
- นำเชือกไนล่อนมามัดบริเวรที่ไม้ไผ่ขัดกัน และมัดบริเวรไม้ข่อยให้แน่น เพื่อความคงทน
ถาวร
- ตกแต่งรายละเอียด โดยใช้กระดาษทรายขัดผลิตภัณฑ์ให้เรียบร้อย

ข้อพึงระวัง ->

รูปประกอบ -> image1 image2

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา