ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

การปลูกอ้อย

โดย : นายสมนึก แก้วมาลา วันที่ : 2017-03-23-16:32:00

ที่อยู่ : 260/7 หมู่ที่ 2 บ้านนำ้สาดเหนือ ตำบลธารทหาร

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

นายสมนึก  แก้วมาลา เป็นวิทยากรสัมมาชีพชุมชน บ้านน้ำสาดเหนือ และเป็นผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ ๒ ตำบลธารทหาร อำเภอหนองบัว จังหวัดนครสวรรค์ แต่โดยมีอาชีพหลักการเกษตรและถนัดด้านการปลูกอ้อย จนประสบความสำเร็จสามารถขายผลผลิตอ้อยได้ปริมาณน้ำหนักต่อไร่ค่อนข้างสูงเคยเก็บผลผลิตได้สูงถึง 1๕- ๒๐ ตัน/ไร่ และพัฒนาฝีมือการปลูกมาเรื่อย และสามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงสุดถึง ตันละ 1,๒๐๐ บาท ส่งให้กับทางโรงงานแปรรูปอ้อยเป็นน้ำตาลทราย จนสามารถนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งรายได้นั้นสามารถล้างหนี้ให้กับครอบครัวได้ และลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้แก่ครัวเรือนได้ ซึ่งปัจจุบันทำให้เพื่อนบ้านที่สนใจอาชีพการปลูกอ้อยมาศึกษาดูงาน และนำความรู้ไปปรับใช้ในการปลูกพืชชนิดอื่นๆด้วย

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการปลูกอ้อยให้กับผู้สนใจและบุคคลทั่วไปรับทราบและนำไปใช้ปฏิบัติ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1. ท่อนพันธุ์อ้อยพันธุ์ดี

2. แปลงที่เตรียมดินไว้แล้ว

3. ปุ๋ย

4. น้ำ

อุปกรณ์ ->

1. จอบ

2. รถไถ

3.  เครื่องปลูกอ้อย

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1. ฤดูการปลูกอ้อย มีสองฤดูปลูก คือ 

1.1 การปลูกอ้อยข้ามแล้ง คือการปลูกในช่วงเดือน ต.ค.- ธ.ค. ข้อดีของการปลูกช่วงนี้คือ ไม่ค่อยมีหญ้า และอ้อยได้จำนวนอายุหลายเดือนก่อนตัดส่งโรงงาน แต่ข้อเสียก็คือ งอกช้า เวลาปลูกต้องหยอดน้ำไปพร้อมท่อนพันธุ์ด้วยถึงจะดี

1.2 การปลูกอ้อยฤดูฝน คือการ ปลูกอ้อยหน้า ก.พ.-พ.ค. ช่วงนี้อ้อยจะโตเร็ว งอกเร็ว แต่อ้อยจะมีอายุน้อย ผลผลิตไม่เต็มที่ เพราะต้องตัดส่งโรงงานในช่วงเปิดหีบ  ซึ่งส่วนใหญ่แล้ว โรงงานจะเปิดหีบประมาณเดือน พ.ย-เม.ย. ซึ่งแล้วแต่พื้นที่ แล้วแต่โรงงานว่าจะเปิดหรือปิดช่วงไหน เราไม่สามารถกำหนดเวลาตัดเองได้  ดังนั้นปริมจึงแนะนำให้ปลูกอ้อยข้ามแล้ง จะทำให้อ้อยมีอายุเลย 10 เดือนกำลังโตเต็มที่ น้ำหนักดี ให้ค่า CCS สูง

การปลูกอ้อยต้นฝน  ซึ่งยังแบ่งออกเป็น  2  เขต  คือ
          -  ในเขตชลประทาน  (20%  ของพื้นที่ปลูกอ้อยทั่วประเทศ)  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ - เมษายน
          -  ในเขตอาศัยน้ำฝน  ส่วนใหญ่จะปลูกในช่วงเดือนเมษายน  -  มิถุนายน
การปลูกอ้อยปลายฝน  (การปลูกอ้อยข้ามแล้ง)  สามารถทำได้เฉพาะในบางพื้นที่ของภาคตะวัน     ออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก  ที่มีปริมาณและการกระจายของฝนดีและดินเป็นดินทรายเหนือดินร่วนปนทราย  การปลูกอ้อยประเภทนี้จะปลูกประมาณกลางเดือนตุลาคม-ถึงเดือนธันวาคม

 

 

 


 

-2-

การเตรียมพื้นที่ปลูก 

                   การเตรียมดิน
ไถเตรียมดินให้ลึกขณะมีความชื้นพอเหมาะ  และควรลงไถดินดานทุกครั้งที่มีการรื้อตอเพื่อปลุกอ้อยใหม่โดยไถเป็นรูปตาหมากรุก
        -  ถ้าปลูกต้นฤดูฝนหรือปลูกอ้อยใช้น้ำชลประทาน  ไม่จำเป็นต้องไถพรวนให้ดินแตก
        -  อ้อยปลายฝนหรือปลูกอ้อยข้ามแล้ง  ต้องไถพรวนจนหน้าดินแตกละเอียด  เพื่อช่วยลด  ความสูญเสียความชื้นภายในดินให้ช้าลง
                      วิธีการปลูก
        -  ถ้าใช้คนปลูกจะยกร่องกว้าง  1.4-1.5 เมตร  (เดิมใช้  1.3  เมตร)  วางพันธุ์อ้อยเป็นลำโดยใช้ลำเดี่ยว  เกยกันครึ่งลำหรือ2  ลำคู่ตามลักษณะการแตกกอของพันธุ์อ้อยที่ใช้
        -  ถ้าใช้เครื่องปลูก  หลังจากเตรียมดินแล้ว  ไม่ต้องยกร่องจะใช้เครื่องปลูกติดท้ายแทรกเตอร์  โดยจะมีตัวเปิดร่อง  และช่องสำหรับใส่พันธุ์อ้อยเป็นลำ  และมีตัวตัดลำอ้อยเป็นท่อนลงในร่องและมีตัวกลบดินตามหลัง  และสามารถดัดแปลงให้สามารถใส่ปุ๋ยรองพื้น พร้อมปลูกได้เลย  ปัจจุบันมีการใช้เครื่องปลูกทั้งแบบแถวเดี่ยวและแถวคู่  โดยจะปลูกแถวเดี่ยวระยะแถว  1.4-1.5 เมตร ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอมาก  และจะปลูกแถวคู่ ระยะแถว 1.4-1.5 เมตร 

ระยะระหว่างคู่แถว  20-30  เซนติเมตร  ในกรณีใช้พันธุ์อ้อยที่แตกกอน้อย
                  การใส่ปุ๋ย 
 โดยแบ่งใส่ปุ๋ยเป็น  2  ครั้ง จำนวน 50 กิโลกรัมต่อไร่ 
            ใส่ปุ๋ยครั้งแรกให้ใช้    ปุ๋ยสูตร 15-15-15, 25-7-7 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
            ใส่ปุ๋ยครั้งที่สองให้ใช้ ปุ๋ยสูตร 20-8-20 จำนวน 25 กิโลกรัมต่อไร่
                   การป้องกันกำจัดวัชพืช
           -ใช้แรงงานคนดายหญ้าในช่วงตั้งแต่ปลูกจนถึงอายุ  4  เดือน
           -ใช้เครื่องจักรไถพรวนระหว่างร่องหลังปลูก  เมื่อมีวัชพืชงอก
           -ใช้สารเคมีฉีดพ่นเพื่อคุมฆ่า
ปัจจุบันเกษตรกรมีการเผาใบอ้อยกันมาก
           - การเผาใบอ้อยก่อนเก็บเกี่ยว  เนื่องจากขาดแคลนแรงงานทำให้ตัดอ้อยได้เร็วไม่ต้องลอกกาบใบ  อ้อยที่เผาใบถ้าไม่รีบตัดส่งโรงงานทันทีจะทำให้เสียน้ำตาลและคุณภาพความหวาน  และต้องจ่ายค่ากำจัดวัชพืช  และให้น้ำเพิ่มขึ้นในอ้อยตอแนวทางแก้ไข    คือ  ถ้าส่งโรงานไม่ทันต้องตัดอ้อยไฟไหม้กองไว้ในไร่  ซึ่งจะสูญเสียความหวานน้อยกว่าทิ้งไว้ในไร่
            - การเผาใบอ้อยหลังการเก็บเกี่ยว  เนื่องจากเกษตรกรต้องการป้องกันไฟไหม้อ้อยตอ  หลังจากที่มีหน่องอกแล้วและทำให้ใส่ปุ๋ยได้สะดวกกลบปุ๋ยง่าย  แต่มีผลเสียตามมา  คือ
                     *  เป็นการทำลายวัตถุอินทรีย์ในดิน          
                     *  ทำให้สูญเสียความชื้นในดินได้ง่าย
                     *  หน้าดินถูกกชะล้างได้ง่าย
                     *  มีวัชพืชในอ้อยตอขึ้นมาก
                     *  มีหนอกอเข้าทำลายมากขึ้น
แนวทางแก้ไข  คือ  ใช้เครื่องสับใบอ้อย  คลุกเคล้าลงดิน  ระหว่างแถวอ้อย  และถ้าต้องการเผาใบอ้อยจริงๆ  ควรให้น้ำในอ้อนตอทันที  จะช่วยลดการตายของอ้อยตอลงได้
              - การเผาใบก่อนการเตรียมดิน  เกษตรกรทำเพื่อให้สะดวกในการเตรียมดินปลูก  เพราะล้อรถแทรกเตอร์จะลื่นเวลาไถ มีผลเสียตามมาคือ  เป็นการทำลายอินทรีย์วัตถุ  ดินอัดแน่นทึบ  ไม่อุ้มน้ำ  น้ำซึมลงได้ยาก
แนวทางแก้ไข  คือการใช้จอบหมุนสับเศษอ้อย  และคลุกเคล้าลงดินก่อนการเตรียมดิน  ทำให้ไม่ต้องเผาใบอ้อยก่อนการเตรียม

 

 

 

 

-๓-

 

การปลูกและการดูแลรักษาอ้อย  
อ้อยมีระยะการเจริญเติบโต 4 ระยะ คือ

1.   ระยะงอก เริ่มปลูก 1.5 เดือน ( 3-6 สัปดาห์) อ้อยใช้อาหารจากท่อนพันธุ์และความชื้นในดินปุ๋ยรองพื้นช่วยให้ราก

แข็งแรง

2. ระยะแตกหน่อ อ้อยอายุ 1.5 - 3 เดือน ต้องการน้ำและปุ๋ยไนโตรเจนมาก เพื่อช่วยให้แตกกอและหน่อเติบโต

3. ระยะย่างปล้อง อ้อยอายุ 4-5 เดือน ระยะที่กำหนดขนาดและน้ำหนักของลำอ้อยเป็นช่วงที่อ้อยเจริญเติบโตเร็วที่สุด

    จึงต้องการปัจจัยต่างๆ เพื่อการเจริญเติบโตทั้งแสงแดด อุณหภูมิ น้ำและปุ๋ย

4. ระยะสุกแก่ เมื่ออ้อยอายุ 8 เดือน – เก็บเกี่ยวจะเป็นระยะสมน้ำตาลไม่ควรใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ย

การใส่ปุ๋ยถือเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งควรจะใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด ที่ช่วยปรับสภาพทางกายภาพของดินร่วมกับ

ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยเคมีที่ใส่ควรมีธาตุอาหารครบทั้ง 3 ชนิด คือ เอ็น – พี – เค ( N,P,K ) เช่น ปุ๋ยสูตร15-15-15 , 13-13-21 เป็นต้นควรใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก หรือหลังแต่งตออ้อย 2 ครั้งดิน ร่วนปนทราย ให้ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 13-13-21 รองก้นร่องพร้อมปลูกหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 20 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 60 กิโลกรัมต่อไร่ ถ้าเป็นอ้อยตอหลังตัดแต่งตอให้เพิ่มปุ๋ยสูตร 46-0-0 อัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อไรดิน ร่วน หรือดินร่วนเหนียว ให้ปุ๋ยสูตร 16-8-8 หลังปลูกหรือหลังแต่งตอ 1 เดือน อัตรา 35 กิโลกรัมต่อไร่ ครั้งที่สองเมื่ออายุ 2-3 เดือน อัตรา 40 กิโลกรัมต่อไร อ้อยปลูกและอ้อยตอที่ปลูกในเขตชลประทานเมื่ออ้อยอายุ 2-3 เดือน ให้เพิ่มปุ๋ยเคมีสูตร 46-0-0 อัตรา 15 กิโลกรัม ต่อไร่ หรือสูตร 21-0-0 อัตรา 30 กิโลกรัมต่อไร่การให้ปุ๋ยทุกครั้ง ทั้งในอ้อยปลูกและอ้อยตอควรให้ขณะดินมีความชื้นโดยโรยข้างแถวอ้อยห่างประมาณ 10 เซนติเมตร และต้องฝังกลบปุ๋ย ยกเว้นการให้ปุ๋ยรองก้นร่อง

การให้น้ำ

สำหรับในแหล่งปลูกที่มีน้ำชลประทานหรือแหล่งน้ำตามธรรมชาติ ควรให้น้ำตามร่องทันทีหลังปลูก โดยไม่ต้องระบายออก กรณีที่ไม่สามารถปรับพื้นที่ให้มีความลาดเอียงได้ ควรให้น้ำแบบพ่นฝอย ต้องไม่ให้อ้อยขาดน้ำติดต่อกันนานกว่า 20 วัน เป็นระยะการสะสมน้ำตาล งดให้น้ำก่อนเก็บเกี่ยว 2 เดือน ถ้าฝนตกหนักต้องระบายน้ำออกทันทีให้น้ำทันทีหลังตัดแต่งตออ้อย

ข้อพึงระวัง ->

การกำจัดวัชพืช

การกำจัดวัชพืช การกำจัดวัชพืชสำหรับอ้อยเป็นสิ่งจำเป็นในช่วง 4-5 เดือนแรก อาจใช้แรงงานคน แรงงานสัตว์ หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชก็ได้ เกษตรกรนิยมใช้สารเคมีกำจัดวัชพืช ดังนี้
1. ยาคุม ใช่เมื่อปลูกอ้อยใหม่ ๆ ก่อนหญ้าและอ้อยงอก ได้แก่ อาทราซีน อมีทรีน และเมทริบิวซีน อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
2. ยาฆ่าและคุม อ้อยและหญ้างอกอายุไม่เกิน 5 สัปดาห์ ได้แก่ อมีทรีน อมีทรีนผสมอาทราซีน และเมทริบิวซีนผสมกับ 2,4-ดี อัตราตามคำแนะนำที่สลาก
การใช้สารเคมีกำจัดวัชพืชให้มีประสิทธิภาพ เกษตรกรต้องรู้จักวิธีใช้ให้ถูกต้อง ฉีดสารเคมีกำจัดวัชพืชในขณะที่ดินมีความชื้น หัวฉีดควรเป็นรูปพัด นอกจากนี้สามารถคุมวัชพืชโดยปลูกพืชอายุสั้นระหว่างแถวอ้อย เช่น ข้าวโพด ถั่วเขียว และถั่วเหลือง เป็นต้น นอกจากจะช่วยคุมวัชพืชแล้ว อาจเพิ่มรายได้และช่วยบำรุงดินด้วย
การตัดและขนส่งอ้อย เกษตรกรจะต้องปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนสูงสุด ซึ่งเกษตรกรจะต้องรู้ว่าอ้อยของตัวเองแก่หรือยัง โดยดูจากอายุ ปริมาณ น้ำตาลในต้นอ้อย และวางแผนการตัดอ้อยร่วมกับโรงงาน ควรตัดอ้อยให้ชิดดินเพื่อให้เกิดลำต้นใหม่จากใต้ดิน ซึ่งจะแข็งแรงกว่าต้นที่เกิดจากตาบนดิน

 

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดนครสวรรค์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา