ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การทอผ้าพื้นเมือง

โดย : นางบัวเรียน ทำบุญ วันที่ : 2017-05-17-16:09:12

ที่อยู่ : 131 หมู่ที่ 1 ตำบลมหาไชย

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

หญิงสาวชาวชนบท ตั้งแต่จบจากการเรียนการศึกษา มารดาจะสั่งสอนเรื่องการครองเรือน การทอผ้า เมื่อเวลาออกบ้านแต่งงานแล้วจะได้ทำเป็น ทำใช้ และทำขาย เป็นอาชีพ สืบมาจนถึงปัจจุบัน เด็กสาวในชนบทจะทอผ้าพื้นถิ่นเป็นประจำถิ่นของตน

วัตถุประสงค์ ->

เพื่อลดรายจ่าย  เพิ่มรายได้ครัวเรือน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

1.ด้าย

2.สีย้อม

 

อุปกรณ์ ->

 

อุปกรณ์ทอผ้าพื้นเมือง

               - อุปกรณ์เตรียมด้ายยืน ด้ายพุ่ง
                              1) กง ใช้พันเส้นด้าย เพื่อเตรียมไจด้ายสำหรับฟอกและย้อม
                              2) อัก ใช้พันเส้นด้าย เพื่อจัดระเบียบ

3) กระบอกไม่ไผ่ ใช้สำหรับพันเส้นด้าย ใช้แทนหลอดด้าย
                              4) แกนกระสวย ใช้สำหรับพันด้ายพุ่งเป็นหลอดเล็กๆ

5) ไน เป็นเครื่องมือสำหรับกรอด้ายเข้าหลอดด้าย ก่อนที่จะนำไปใส่กระสวย ต้องนำไปใช้ร่วมกับระวิง มีลักษณะด้านหนึ่งเป็นกงล้อขนาดใหญ่มีเพลาหมุนด้าย มีสายพานต่อไปยังท่อเล็กๆ ที่ปลายอีกข้างหนึ่ง

6) หลักเปีย (หลักเผีย) โครงไม้สำหรับเตรียมด้ายยืน สามารถเตรียมด้ายยืนยาว 20 - 30  7) แปรงหวีด้ายยืน
                                          - ใช้หวีด้ายยืนให้แผ่กระจาย และเรียงตัวเป็นระเบียบ
                                          - ใช้หวีด้ายยืนหลังจากลงแป้ง
                            8) อุปกรณ์สำหรับมัดหมี่คือ โฮ่งมัดหมี่ เมตร (ปัจจุบันมีหลักเปียขนาดใหญ่ เตรียมด้ายยืนได้ยาวกว่า 100 เมตร)

  - เครื่องทอผ้าพื้นเมือง เรียกว่า กี่ หรือ หูกทอผ้า

            -

1) ฟืมหรือฟันหวี (reed) เป็นกรอบไม้แบ่งเป็นช่องถี่ๆด้วยลวดซี่เล็กๆ สำหรับจัดระเบียบเส้นด้ายยืน ตีกระทบเส้นด้ายพุ่งเพื่อให้ผ้ามีเนื้อแน่นเป็นผืนผ้า
            2) ตะกอหรือเขาหูก (harness) ส่วนใหญ่เป็นตะกอเชือก จัดกลุ่มเส้นด้ายยืนเปิดช่องด้ายยืน สำหรับใส่ด้ายพุ่ง
            3) แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วใช้ลำต้นไม้ที่มีขนาดสม่ำเสมอ และเหยียดตรง
            4) แกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนด้ายยืนขณะทอ
            5) เท้าเหยียบ ใช้ควบคุมการยกตะกอ
            6) ที่นั่ง สำหรับนั่งขณะทอผ้า
            7) กระสวย ใช้สอดใส่ด้ายพุ่งจะมีลักษณะคล้ายเรือ มีร่องใส่แกนกระสวยมีทั้งแบบแกนเดี่ยวและแกนคู่

 

ส่วนประกอบของกี่ทอผ้า

1) ฟืมหรือฟันหวี (reed) เป็นกรอบไม้แบ่งเป็นช่องถี่ๆด้วยลวดซี่เล็กๆ สำหรับจัดระเบียบเส้นด้ายยืน ตีกระทบเส้นด้ายพุ่งเพื่อให้ผ้ามีเนื้อแน่นเป็นผืนผ้า
            2) ตะกอหรือเขาหูก (harness) ส่วนใหญ่เป็นตะกอเชือก จัดกลุ่มเส้นด้ายยืนเปิดช่องด้ายยืน สำหรับใส่ด้ายพุ่ง
            3) แกนม้วนผ้าหรือไม้กำพั่น ใช้ม้วนผ้าที่ทอแล้วใช้ลำต้นไม้ที่มีขนาดสม่ำเสมอ และเหยียดตรง
            4) แกนม้วนด้ายยืน ใช้ม้วนด้ายยืนขณะทอ
            5) เท้าเหยียบ ใช้ควบคุมการยกตะกอ
            6) ที่นั่ง สำหรับนั่งขณะทอผ้า
            7) กระสวย ใช้สอดใส่ด้ายพุ่งจะมีลักษณะคล้ายเรือ มีร่องใส่แกนกระสวยมีทั้งแบบแก

8) ผัง
                        - ไม้เล็ก เรียว ยาวกว่าหน้าผ้าเล็กน้อย ปลาย 2 ข้างเป็นเหล็กแหลม
                        - ใช้สำหรับขึงหน้าผ้าให้ตึง และมีขนาดคงเดิมขณะทอ

            อุปกรณ์ที่ทำให้เกิดลวดลาย
                        1. อุปกรณ์สำหรับผ้าจก ประกอบด้วย ขนเม่น ไม้หลาบสำหรับเก็บลวดลายและจัดแยกเส้นด้ายยืนขณะทอ

  2. อุปกรณ์สำหรับผ้าขิตไม้หลาบ ใช้จัดแยกด้ายยืนขณะทอ ไม้สอด ใช้เก็บลาย

3. อุปกรณ์สำหรับผ้ามัดหมี่โฮ่งมัดหมี่ ใช้เตรียมด้ายพุ่งเพื่อมัดและแกะเชือกมัด

 

 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

 วิธีการทอผ้า
ปัจจุบัน ถึงแม้ว่ายังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดบ่งบอกถึงต้นกำเนิดของการ ทอผ้า แต่ก็สามารถเทียบเคียงกับหลักฐานอื่น ๆ ซึ่งมีความคล้ายคลึงกันโดย มีเหตุผลหลายอย่างสนับสนุนแนวคิดที่ว่า การทอผ้ามีวิวัฒนาการมาจากการ ทำเชือก ทอเสื่อ และการจักสาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งลายเชือกทาบที่ปรากฎ ร่องรอยให้เห็นบนภาชนะดินเผา ซึ่งพบเป็นจำนวนมากตามแหล่งโบราณคดี ก่อนประวัติศาสตร์สมัยหินใหม่ เรื่อยมาจนถึงแหล่งโ่บราณคดีสมัยประวัติ  ศาสตร์ ด้วยเหตุนี้เอง จึงกล่าวได้ว่าการทอผ้าเป็นงานหัตถกรรมที่เก่าแก่ที่สุด ในโลกงานหนึ่ง
หลักของการทอผ้า ก็คือการทำให้เส้นด้ายสองกลุ่มขัดกัน โดยทั้งสอง พวกตั้งฉากกัน เส้นด้ายกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ด้ายยืน และอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดา้ยพุ่ง ลักษณะของการขัดกันของด้ายพุ่งและด้ายยืน  จะขัดกันแบบธรรมดาที่เรียกว่าลายขัด หรืออาจจะเพิ่มเทคนิคพิเศษเพื่อให้ผ้ามีลวดลาย สีสันที่สว

ขั้นตอนในการทอผ้า
1. สืบเส้นด้ายยืนเข้ากับแกนม้วนด้ายยืน  และร้อยปลายด้ายแต่ละเส้นเข้าในตะ กอแต่ละชุดและฟันหวี ดึงปลายเส้นด้ายยืนทั้งหมดม้วนเข้ากับแกนม้วนผ้าอีกด้านหนึ่ง ปรับความตึงหย่อนให้พอเหมาะ กรอด้ายเข้ากระสวยเพื่อใช้เป็นด้ายพุ่ง
2. เริ่มการทอโดยกดเครื่องแยกหมู่ตะกอ เส้นด้ายยืนชุดที่ 1 จะถูกแยก ออกและเกิดช่องว่าง สอดกระสวยด้ายพุ่งผ่าน สลับตะกอชุดที่ 1 ยกตะกอชุดที่ 2 สอดกระสวยด้ายพุ่งกลับ ทำสลับกันไปเรื่อย ๆ
3. การกระทบฟันหวี (ฟืม) เมื่อสอดกระสวยด้ายพุ่งกลับก็จะกระทบ
ฟันหวี เพื่อให้ด้ายพุ่งแนบติดกัน ได้เนื้อผ้าที่แน่นหนา
4. การเก็บหรือม้วนผ้า เมื่อทอผ้าได้พอประมาณแล้วก็จะม้วนเก็บใน
แกนม้วนผ้า โดยผ่อนแกนด้ายยืนให้คลายออกและปรับความตึงหย่อนใหม่ ่ให้ พอเหมาะ

การทอผ้าพื้น

 

เป็นการใช้หลักการทอผ้าเบื้องต้น  ที่นำเอาด้ายเส้ยยืนและด้ายเส้นพุ่งมาขัดกัน  เพื่อให้เกิดเป็นผืนผ้า โดยด้ายเส้น พุ่งและเส้นยืนอาจเป็นด้ายสีเดียวกัน  หรือต่างสีกัน  หรือนำเอาเส้นด้ายที่เป็นดิ้นเงินหรือดิ้นทองมาทอควบด้าย เพื่อให้ผ้า มีความมันระยับ สวยงามยิ่งขึ้น

เทคนิคพิเศษที่ใช้ในการทอผ้า

  • การขิด  ขิด  หมายถึง กรรมวิธีในการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ ขึ้นมา  โดยวิธีการเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษในระหว่างการ ทอ เพื่อให้เกิดลวดลายที่โดดเด่นกว่าสีพื้น วิธีการทำคือ ใช้ไม้เขี่ยหรือสะกิด เพื่อช้อนเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่ง  ไปตามแนวที่ถูกจัดช้อน จังหวะการสอดเส้นด้ายพุ่งนี่เอง ที่ทำให้เกิดเป็นลวดลายต่าง ๆ
  • การจก เป็นเทคนิคการทอผ้าเพื่อให้เกิดลวดลายต่างๆ โดยเพิ่มเส้นด้ายพุ่งพิเศษสอดขึ้นลง วิธีการคือ ใช้ขนเม่น ไม้ หรือนิ้ว สอดเส้นด้ายยืนขึ้น แล้วสอดเส้นด้ายพุ่งพิเศษเข้าไป ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นลวดลายเป็นช่วง ๆ สามารถทำสลับสีลวดลายได้หลากสี ซึ่งจะแตกต่างจากการขิดตรงที่ขิดที่เป็นการใช้เส้นด้ายพุ่งพิเศษเพียงสี เดียว การทอผ้าวิธีจกใช้เวลานานมากมักทำ  เป็นผืนผ้าหน้าแคบใช้ต่อกับตัวซิ่น เรียกว่า “ซิ่นตีนจก”
  • การทอมัดหมี่ ผ้ามัดหมี่มีกรรมวิธีการทอผ้าที่ใช้เทคนิคการมัดและการย้อม เริ่มจากนำเส้นด้ายหรือไหมมาย้อมสีแล้วมัดบริเวณที่ ต้องการเก็บไว้ เมื่อนำไปย้อมสีอื่น จะได้ไม่ติดสี เพียงซึมเข้ามาบางส่วน โดยย้อมเรียงลำดับจากสีอ่อนไปหาสีเข้มจนครบ ตามลวดลายที่กำหนด หลังจากนั้นจึงนำด้ายกรอเข้าหลอดตามลำดับ แล้วนำไปทอจะเกิดลวดลายบนผืนผ้าที่มีลักษณะคลาด เคลื่อนเหลื่อมล้ำ อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของมัดหมี่ การทอผ้าชนิดนี้จึงต้องอาศัยความชำนาญในการมัดย้อมและทอเป็น อย่างมาก ผ้ามัดหมี่มีอยู่หลายชนิด ได้แก่

1.  มัดหมี่เส้นพุ่ง
2.  มัดหมี่เส้นยืน
3.  มัดหมี่เส้นยืนและเส้นพุ่ง

  • การทอผ้ายก เป็นกรรมวิธีการทอให้เกิดลวดลายโดยการยกตะกอแยกด้ายเส้นยืน และในบางครั้งการยกดอกจะมีการเพิ่มด้ายเส้น พุ่งจำนวนสองเส้น หรือมากกว่านั้นเข้าไปในผืนผ้าลวดลายที่ทอจะเป็นลายที่เกี่ยวข้องกับวิถีชีวิต สิ่งแวดล้อม และความเชื่อทางศาสนา ซึ่งได้แก่ ลายปราสาท ลานธรร มาสน์ ลายสัตว์ ลายพืช ลายจากสิ่งของเครื่องใช้ และลายเรขาคณิต 

ข้อพึงระวัง ->

ไม่มี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา