ความรู้สัมมาชีพชุมชน

ตระกร้าพลาสติก

โดย : นางบานชื่น โคตพันธ์ วันที่ : 2017-04-20-14:06:24

ที่อยู่ : เลขที่ 29 บ้านเก่าน้อย หมู่ที่ 3 ตำบลเจ้าท่า

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

การจักสานเป็นอาชีพที่ชาวบ้านเก่าน้อย  หมู่ที่ 3  ตำบลเจ้าท่า  อำเภอกมลาไสย  จังหวัดกาฬสินธุ์ ได้ช่วยจุนเจือครอบครัวในยามที่เสร็จสิ้นจากการทำนา คนในชุมชนรู้จักและมีภูมิปัญญาด้านการจักสานเป็นพื้นฐานอยู่แล้ว ซึ่งสืบทอดมาจากบรรพบุรุษ รู้จักการนำหวาย ไม้ไผ่ ก้านลานมาทำตะกร้า กระบุง ชะลอม ผลิตใช้สอยในครัวเรือน สมัยก่อนชาวบ้านจะทำไว้ใช้เอง การจักสานสืบทอดมาจากบรรพบุรุษในถิ่นฐานเดิม มีผู้ทรงภูมิปัญญาถ่ายทอดองค์ความรู้แบบดั่งเดิม ซึ่งยังไม่มีการพัฒนารูปแบบแต่อย่างใด

              จักสานเป็นผลิตภัณฑ์ หัตถกรรม ที่บ่งบอกถึงความรุ่งเรือง ประเพณี วัฒนธรรมของพื้นบ้าน มีการสืบทอดเทคนิควิธีการมาหลายช่วงอายุคน ซึ่งมีพื้นฐานการพัฒนาลวดลายในแบบต่างๆ อย่างต่อเนื่อง โดยมีพื้นฐานในการออกแบบจากสภาพการดำรงชีวิต วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ศาสนา และธรรมชาติที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย  เดิมสมัยก่อนในชุมชนบ้านเก่าน้อย  มีการปลูกไม้ไผ่ หวาย ลาน มีกรรมวิธีการจักสานแบบโบราณใช้วัตถุดิบในพื้นที่นำมาจักสานเครื่องใช้ในครัวเรือน เมื่อก่อนนี้กลุ่มจักสานมีมาก ผลผลิตล้นตลาดราคาผลิตภัณฑ์ถูก แต่วัตถุดิบแพง กลุ่มบ้านเก่าน้อย  จึงมีความคิดที่จะเปลี่ยนจากหวาย ไม้ไผ่เป็นจักสานพลาสติก ต่อมาเมื่อทางส่วนราชการมาส่งเสริมให้การสนับสนุน ให้มีการจักสานเชิงพาณิชย์ โดยมีชาวบ้านมาเป็นสมาชิกกลุ่ม ทำให้มีอาชีพเสริม มีสถานที่ฝึกอบรม ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ เกิดจากความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก เน้นความสวยงาม ประณีตและเรียบร้อยจากการที่ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานราชการต่างๆ ทำให้กลุ่มมีความเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ส่งผลให้ชาวบ้านเก่าน้อยได้มีรายได้ให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง ประจวบกับประธานกลุ่ม  คือ  นางอรวรรณ  จันลาวงค์  เป็นผู้ประสานงานด้านการตลาด ทำให้กลุ่มทำการผลิตและจำหน่ายได้มากขึ้น

วัตถุประสงค์ ->

1.     เพื่อเพิ่มรายได้

2.     เพื่อสืบทอดภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.     เพื่อใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

4.     เพื่อให้มีการบริหารงานในรูปของกลุ่มอย่างมีประสิทธิภาพ

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เส้นพลาสติก

อุปกรณ์ ->

- กรรไกร

-สายวัด

-ลวด

 -คีมดัดลวด

กระบวนการ/ขั้นตอน->

1.ใช้หนังยางมัดปลายเส้นตั้งทั้ง 9 เส้น รวมไว้ด้วยกัน โดยให้เส้นเรียงกัน เหมือนในภาพ (อาจติดเทปใส

     เพื่อช่วยให้เส้นไม่เคลื่อนและสานง่ายขึ้น

2. นำเส้นนอนอีก 7 เส้น มาสานขัดกับเส้นตั้ง โดยสานให้เส้นสับหว่างกัน ให้เส้นที่สานขัดแล้วอยู่ช่วงกลาง

3. จากนั้นจัดเส้นแนวนอนให้ชิด แล้วนำเส้นสาน อีก 5 เส้น  มาสานขึ้ันไปด้านบน โดยเริ่มสานประมาณ

    ครึ่งหนึ่งของเส้นตั้ง

4.เริ่มสานโดยการนับเส้นสานลงมาถึงเส้นที่ 6 แล้วสานขัดสับหว่างขึ้นไปด้านบน

5. สานขัดไปจนหมดเส้น แล้วพอถึงมุม ก็นับเส้นที่ 6 เหมือนเดิม ทำจนครบทั้ง 4 มุม  (ถ้าสานแล้วกลัวเส้น

    หลุด ใช้การพับเส้นแล้วสอดขัดไว้

6.  พอสานครบทั้ง 4 ด้านแล้ว ก็สอดเส้นสานให้ตัวงานผสานกัน ทั้ง 5 เส้น ให้ครบ

7. ดึงจัดชิ้นงานให้ชิดกัน  ได้ขนาด และพับมุมกล่องให้สวยงาม

8. ดัดลวด ให้ได้ตามขนาดที่ต้องการ 

9. นำลวด ครอบตรงปากชิ้นงาน แล้วพับเส้นให้ทับลวด

10. นำเส้นเก็บขอบปากวางทับลวด แล้วพับเส้นที่เหลือสอดลงมา ดึงเก็บงานให้เรียบร้อย

11. สอดเส้นเก็บงาน แล้วตัดเส้นที่เศษออกมา ให้เรียบร้อย

ข้อพึงระวัง ->

-

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา