ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงเป็ดเทศ

โดย : นายทัศน์ ติกาพันธ์ วันที่ : 2017-04-07-16:17:42

ที่อยู่ : 17 ม.10 ต.นาบอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เลี้ยงเพื่อบริโภคในครัวเรือน ส่วนใหญ่จะเลี้ยงเป็นงานอดิเรก จะไม่ค่อยคำนึงถึงผลกำไร เช่น การเลี้ยงเป็ดไข่ตัวผู้ เป็ดเทศ อาหารที่ใช้เลี้ยงเป็ดจะเป็นวัตถุดิบในท้องถิ่นเป็นส่วนใหญ่ เช่น ข้าวเปลือก ร้าข้าว หรือเศษอาหารจากครัวเรือน เป็นเป็ดที่ให้เนื้อมากแต่ให้ไข่น้อยและโตค่อนข้างช้า ตัวเมียมีนิสัยชอบฟักไข่และเลี้ยงลูกเก่ง เมื่อโตเต็มที่ตัวผู้จะมีน้ำหนักประมาณ 4-4.5 กิโลกรัม ตัวเมียจะมีน้ำหนักประมาณ 3.0-3.5 กิโลกรัม เนื่องจากเป็นเป็ดที่โตช้าและตัวผู้กับตัวเมียมีน้ำหนักแตกต่างกันมากจึงไม่ค่อยมีผู้นิยมเลี้ยงเป็นการค้า อย่างไรก็ตามเมื่อน้ามาผสมพันธุ์กับเป็ดพันธุ์อื่นจะให้ลูกเป็นหมันแต่มีอัตราการเจริญเติบโตดีขึ้นและความแตกต่างของน้ำหนักตัวระหว่างเพศผู้และเพศเมียจะน้อยลง

วัตถุประสงค์ ->

เลี้ยงเพื่อบริโภค  และวไ้จำหน่าย

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

พันเป้ดพันธ์ุดี

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ในการเลี้ยงเป็ด

เครื่องกกลูกเป็ด

ลูกเป็ดเมื่อยังเล็กอยู่ไม่สามารถสร้างความอบอุ่นให้แก่ร่างกายได้เพียงพอ เมื่ออยู่ในสภาพอากาศเย็นโดยเฉพาะในเวลากลางคืนหรือตอนเช้า ถ้าปล่อยไว้เช่นนี้นานๆ ลูกเป็ดจะตายหรือแคระแกร็นได้ ดังนั้นผู้เลี้ยงจึงต้องมีเครื่องกกเพื่อให้ลูกเป็ดได้รับความอบอุ่นเพียงพอ

การกกลูกเป็ด สามารถท้าได้ 2 วิธี คือ กกโดยใช้แม่เป็ดกก และกกโดยใช้เครื่องกก

การกกด้วยแม่เป็ด เป็นวิธีแบบธรรมชาติใช้ได้สำหรับกรณีที่เลี้ยงเป็ดจ้านวนไม่มาก หรือเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้าน มีลูกเป็ดไม่กี่ตัวก็ปล่อยให้แม่เป็ดกกและเลี้ยงลูกเอง

 อุปกรณ์ให้อาหาร

อุปกรณ์ให้อาหารเป็ดควรท้าเป็นรางจะได้ผลดีกว่าการใช้ถังอาหารเช่นเดียวกับที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ปีกที่หากินตามแหล่งน้ำ ปากเป็ดจึงออกแบบมาให้เหมาะสมกับการกินอาหารในลักษณะกรองของแข็งจากนั้น ดังนั้น พฤติกรรมการกินอาหารของเป็ดจะไม่ใช้วิธีจิกแล้วกลืนกินแบบไก่ แต่จะกินอาหารเข้าปากก่อนแล้วจึงค่อยยกหัวขึ้นเพื่อกลืนอาหารโดยใช้ลิ้นดันเข้าไป จึงท้าให้อาหารบางส่วนร่วงหล่นออกจากปาก ดังนั้น การให้อาหารเป็ดจึงควรใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบรางจะช่วยให้อาหารหกหล่นจากปากสู่พื้นน้อยกว่าการให้แบบถังอาหาร รางอาหารสำหรับเป็ดมีหลายรูปแบบ เช่น ท้าเป็นรางไม้กึ่งอัตโนมัติ รางไม้รูปตัววี หรือรูปตัวยู หรืออาจจะใช้รางรถยนต์ผ่าซีกก็ได้

 อุปกรณ์ให้น้ำ

เนื่องจากเป็ดเป็นสัตว์ที่หากินตามแหล่งน้ำ ดังนั้น นอกจากเป็ดจะดื่มน้ำแล้วก็ยังมีนิสัยชอบเล่นน้ำอีกด้วย จึงท้าให้สิ้นเปลืองน้ำมาก ถ้าหากเราใช้กระปุกน้ำเช่นเดียวกับที่ใช้เลี้ยงไก่ก็อาจจะสิ้นเปลืองแรงงานมากในการเติมน้ำ ดังนั้น การเลี้ยงเป็ดจึงนิยมใช้อุปกรณ์ให้น้ำแบบรางอัตโนมัติ โดยอาจจะใช้ท่อน้ำขนาดใหญ่ผ่าซีกแล้วใช้ปูนซีเมนต์ปิดหัวท้าย ด้านหนึ่งติดวาล์วลูกลอยเพื่อควบคุมระดับน้ำในราง หรืออาจจะก่อปูนท้าเป็นรางน้ำไว้ด้านหนึ่งของโรงเรือนเพื่อให้เป็ดได้กินและเล่นน้ำด้วยก็ได้ น้ำที่ล้นออกมาก็ปล่อยให้ไหลออกไปนอกโรงเรือน

รางน้ำควรจะวางให้ห่างจากรางอาหารพอควร เพื่อบังคับให้เป็ดได้เดินไปกินน้ำและอาหารจะช่วยให้เป็ดได้ออกก้าลังกายและช่วยลดการการสูญเสียอาหาร เนื่องจากเมื่อเป็ดกินอาหารก็จะกินจนเต็มปากแล้วจึงค่อยกลืนลงคอ ถ้าหากอุปกรณ์ให้อาหารอยู่ใกล้อุปกรณ์ให้น้ำเมื่อกินอาหารอยู่ในปากเป็ดก็

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเลี้ยงลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

1.   การเตรียมโรงเรือนสำหรับลูกเป็ด 0-2 สัปดาห์

 1.1  การทำความสะอาดโรงเรือนและอุปกรณ์ที่ใช้ สำหรับลูกเป็ดระยะแรก โดยการล้างน้ำและนำออกตากแดด การเตรียมกรงกก จะต้องเตรียมล่วงหน้าอย่างน้อย 2 สัปดาห์ และเปลี่ยนวัสดุรองพื้นใหม่ทุกครั้งที่นำเป็ดเข้า

1.2  การให้น้ำสะอาด ในระยะแรกที่ลูกเป็ดมาถึงฟาร์ม น้ำที่เตรียมไว้ควรเป็นน้ำสะอาด

การเลี้ยงเป็ด 6 สัปดาห์ ขึ้นไป

     เมื่อลูกเป็ดระยะนี้จะเจริญเติบโตเต็มที่โดยเป็ดเพศเมียจะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  8 สัปดาห์ และเป็ดเพศผู้จะเจริญเติบโตเต็มที่ ช่วงระยะเวลา  10  สัปดาห์ การเลี้ยงเป็ดระยะช่วงเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไปนี้มีข้อปฏิบัติดังนี้

1.  การให้อาหาร  จะใช้อาหารที่ใช้สำหรับเลี้ยงดูเป็ดช่วงระยะเวลา 6  สัปดาห์ขึ้นไป การให้อาหารช่วงระยะเวลานี้ต้องหมั่นตรวจสอบความเพียงพอสำหรับเป็ดในกินอาหาร พร้อมทั้งเกลี่ยอาหารให้กระจายสม่ำเสมอ ซึ่งจะทำให้เป็ดได้รับอาหารในปริมาณที่เท่า ๆ กัน น้ำหนักเป็ดสม่ำเสมอทั้งฝูงและเป็ดจะได้มีความสมบูรณ์เต็มที่

2.  การให้น้ำ ต้องสะอาด ควรทำความสะอาดรางน้ำถ้ามีตะไคร่น้ำ ควรทำความสะอาดให้เรียบร้อย และหมั่นตรวจสอบดูว่ามีอาหารตกค้างรางน้ำหรือไม่ เพราะจะทำให้น้ำเสียได้ง่าย

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวัง

                อย่าทำวัคซีนในช่วงเป็ดผลัดขน เพราะจะได้ภูมิคุ้มกันโรคที่ต่ำ

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา