ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เศรษฐกิจครัวเรือน

โดย : นายวัชรพงษ์ เรืองแสน วันที่ : 2017-04-07-10:13:02

ที่อยู่ : 20 ม.6 ต.นาบอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ที่มาของหมูหลุม
   “หมูหลุม” เป็นภาษาชาวบ้านที่เลี้ยงหมูแบบขุดหลุมลึก  โดยใช้วัสดุรองพื้น  ดั้งเดิมมาจากประเทศเกาหลีและญี่ปุ่น  มีแนวคิดตามหลักการของ “เกษตรกรรมธรรมชาติ” ซึ่งเป็นรูปแบบหนึ่งของเกษตรกรรมยั่งยืน  เป็นการเกษตรที่ไม่เพียงแต่คำนึงถึงผลผลิตจาการเกษตรเท่านั้น  แต่มีปรัชญาและแนวคิดอยู่เบื้องหลัง  เป็นการพัฒนารูปแบบการเกษตรที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม  ความเป็นองค์รวมของระบบนิเวศน์เกษตรในฟาร์ม  วงจรชีวภาพห่วงโซ่อาหาร  ดิน  พืช  สัตว์  จุลินทรีย์  พลังธรรมชาติหมุนเวียนจากพลังงานแสงแดด  น้ำและดิน  นำมาปลูกพืช  เลี้ยงสัตว์กินพืช  นำปุ๋ยมูลสัตว์มาเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้กับดิน  รวมถึงด้านเศรษฐกิจและสังคมของท้องถิ่น  และการพึ่งพาตนเองในด้านการผลิตและการบริโภคขนาดเล็กและขนาดกลางที่เหมาะสมกับทรัพยากร  ภูมิปัญญาในท้องถิ่น  และวัฒนธรรมที่มีในชุมชน  โดยมีเป้าหมายเชิงนโยบายที่การพัฒนาชนบท  การฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  การอยู่ดีกินดีของคนชนบท  และสุขภาพของประชากร นำไปสูการแก้ไขปัญหาความยากจนในที่สุด
ทฤษฎีเกษตรธรรมชาติ
 

วัตถุประสงค์ ->

การเลี้ยงหมูหลุม  เป็นการผลิตเนื้อหมูสำหรับคนบริโภคในท้องถิ่น  เน้นเทคนิคด้วยการจัดการคอกไม้ไม่ให้มีน้ำเสียจากฟาร์ม  มูลสัตว์สามารถกำจัดในคอก  โดยการทำงานของจุลินทรีย์ท้องถิ่น  ของเสียเหล่านั้นถูกนำกลับเป็นปัจจัยการผลิตในการปลูกพืช  ทั้งที่เป็นพืชที่ปลูกเป็นรายได้และพืชที่เป็นอาหารสัตว์ เช่น ข้าว ผัก ผลไม้  เป็นการหมุนเวียนใช้พลังงานธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีที่พึ่งพาตนเองในชุมชน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

วัสดุเตรียมพื้นคอก โดยจัดทำเป็น 3 ชั้น ๆ ละ30 ซม. โดยใช้วัตถุดาดังนี้
-แกลบดิบ 4,300  กิโลกรัม
-มูลโคหรือกระบือ 320 กิโลกรัม
-รำอ่อน 185 กิโลกรัม
-น้ำหมักจุลินทรีย์จากพืชสีเขียว 1 ลิตร ซึ่งจะได้แบคทีเรีย กลุ่มแลคติค

อุปกรณ์ ->

การสร้างโรงเรือน  เลือกพื้นที่น้ำไม่ท่วมขัง  อากาศถ่ายเทสะดวก  ปลูกสร้างด้วยวัสดุในท้องถิ่น  โครงไม้ไผ่  หลังคาหญ้าคา  ขนาด กว้างXยาวXสูง =4X5X1.8 เมตร  เลี้ยงคอกละ 20 ตัว  หลังคาควรมีแสงรอดผ่าน  หรือมีพื้นที่รองรับแสงแดดได้ 1 /3 ของพื้นที่คอกตลอดทั้งวัน  จะทำให้มีการฆ่าเชื้อด้วยแสงอาทิตย์ทุกวัน

การเตรียมพื้นคอก
2.1 ขุดหลุมลึก 90 ซม. ความกว้างยาวขึ้นอยู่กับจำนวนหมูที่เลี้ยง โดยมีพื้นที่ต่อตัว 1-1.5 เมตรต่อตัว
2.2 ก่ออิฐให้รอบทั้ง 4 ด้าน และให้สูงกว่าปากหลุมประมาณ 30 ซม. ไม่ต้องเทพื้น
 

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การเตรียมคอก การเลี้ยงแบบเดิมจะเป็นพื้นราดปูนแข็ง เพื่อง่ายแก่การทำความสะอาด ซึ่งทำให้หมูเครียดเพราะอยู่ไม่สบาย แต่การเลี้ยงแบบนี้จะเป็นพื้นอ่อน และโรงเรือนจะต้องสัมพันธ์กับจำนวนหมู โดยให้มีขนาดคอกกว้าง 2 X 6 เมตร สามารถเลี้ยงได้คอกละ 9 ตัว เริ่มด้วยการขุดพื้นคอกลึกลงไป 90 เซนติเมตร (หรือขุดเพียง 45 ซม. แล้วเอาดินที่ขุดขึ้นมานั้นถมด้านข้างก็จะได้ความลึก 90 ซม.) ในการมุงหลังคานั้นควรให้ตีนชายคากว้างกันไม่ให้น้ำฝนสาดเข้ามาในคอก และเมื่อตีฝาคอกแล้ว ต้องใช้อิฐบล็อกหรือไม้ไผ่กั้นรอบ ๆ คอกลึกลงไปจากพื้นดินประมาณ 40 – 50 เซนติเมตร เพื่อกันไม่ให้หมูขุดออกนอกคอกได้ (การกั้นฝาคอกควรติดตั้งประตูปิด-เปิดได้ไว้ เพื่อความสะดวกในการนำหมูเข้า–ออก) สิ่งที่ต้องคำนึงก็คือบริเวณที่จะสร้างคอกไม่ควรเป็นพื้นที่ต่ำน้ำท่วมขัง และควรเป็นที่ร่มใต้ต้นไม้มีอากาศถ่ายเทได้ดี เพราะหมูเป็นสัตว์ที่ไม่ชอบอากาศร้อน

ข้อพึงระวัง ->

การป้องกันโรค เนื่องจากการเลี้ยงหมูแบบต้นทุนต่ำนี้ มีน้ำหมักชีวภาพซึ่งมีจุลินทรีย์ และวิตามินจากผักเป็นตัวหลักในการเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับหมู แต่หากอาหาร หรือน้ำไม่สะอาดพอ หมูอาจมีอาการท้องเสีย หรือขี้เหลวได้ (ซึ่งปกติไม่ค่อยเกิดบ่อยนัก) ต้องรักษาโดยนำใบผรั่งสด ใบฟ้าทะลายโจรสด และเถาบอระเพ็ดเอาให้หมูกิน รวมทั้งจะต้องหาว่าเกิดจากสาเหตุอะไร เช่น อาหารและน้ำอาจไม่สะอาดพอ ก็ต้องปรับปรุงแก้ไขใหม่ นอกจากนี้ควรใช้มุ้งเขียวคลุมคอกเพื่อกันยุงตั้งแต่เย็นถึงเช้า แต่หากเป็นพื้นที่ที่มีตัวริ้นชุกชุม (โดยเฉพาะช่วงหน้าฝน) ควรนำเอาตะไคร้หอมมาทุบแช่น้ำ แล้วฉีดพ่นให้หมูในช่วงหัวค่ำ (ระวังอย่าให้เข้าตา) เนื่องจากตะไคร้หอมมีสรรพคุณช่วยไล่แมลงได้เป็นอย่างดี

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา