ความรู้สัมมาชีพชุมชน

การเลี้ยงไก่พันธุ์เมือง

โดย : นายนคร จันทะโสตถิ์ วันที่ : 2017-04-07-09:58:24

ที่อยู่ : 115 ม.8 ตำนาบอน อ.คำม่วง

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ไก่พื้นเมืองเป็นสัตว์ปีกชนิดหนึ่งที่เลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้เพราะ การเลี้ยงไก่พื้นเมืองใช้เงินลงทุนน้อย เกษตรกรไม่ต้องดูแลมาก ทนทานต่อความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และทนต่อการเป็นโรคได้ดี

วัตถุประสงค์ ->

ประโยชน์ของการเลี้ยงไก่พื้นเมือง
1. เป็นแหล่งอาหารโปรตีนของชาวบ้านในชนบทที่มีราคาถูก หาง่ายและสะดวกที่สุด
2. เป็นรายได้เสริมได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งในยามที่เกษตรกรหรือชาวบ้านเกิดความจำเป็นรีบด่วน เช่น เจ็บไข้ได้ป่วย หรือค่าเล่าเรียนบุตร เป็นต้น
3. เนื้อของไก่พื้นเมืองมีรสชาติดี เนื้อแน่น และมีไขมันน้อย ทำให้ไก่พื้นเมืองมีราคาสูงกว่าไก่กระทงประมาณ 20-30 % จึงน่าที่จะเป็นทางเลือก ในอาชีพเกษตรได้ดีอย่างหนึ่งของเกษตรกรไทย เพราะไม่มีปัญหาเรื่องของตลาด อัตราเสี่ยงจึงน้อยมาก มีเท่าไหร่ขายได้หมด
4. สอดคล้องกับระบบการเกษตรแบบผสมผสานหรือระบบไร่นาสวนผสมที่คนไทยรู้จักกันมานาน ซึ่งเหมาะสมกับฐานะของเกษตรกรในชนบท และไม่ได้ทำลายระบบนิเวศวิทยาเป็นระบบการผลิตเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อมูลด้านการผลิต

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

 

สัตว์พันธุ์ดี

* อาหารดี

* โรงเรือนดี

* การจัดการ (การเลี้ยงดู) ดี

* การควบคุมป้องกันโรคด

อุปกรณ์ ->

วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการสร้างโรงเรือนไก่พื้นเมือง ควรพยายามใช้วัสดุอุปกรณ์ที่หาง่ายในท้องถิ่น เช่น ไม้ไผ่ แฝก หญ้าคา ตะปู ลวดผูกลวดตาข่าย หรือถ้าผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองมีเงินทุน อาจใช้ไม้เนื้อแข็งเป็นเสาและโครงหลังคา ถ้าเป็นโรงเรืองขนาดใหญ่วิธีการสร้างโรงเรือนไก่พื้นเมืองสำหรับผู้ที่เลี้ยงไก่พื้นเมืองรายย่อยโดยทั่วไป ไม่ค่อยพิถีพิถันกันมาก เพียงแต่ยึดหลักใหญ่ ๆ คือราคาถูกไม่ชื้นแฉะ ระบายอากาศได้ดี ไม่มีลมโกรก ป้องกันแดดกันฝนได้ ปฏิบัติงานได้สะดวก และมีพื้นที่ให้ไก่พื้นเมืองอยู่อย่างไม่แออัด
สุภาพที่ตั้งของโรงเรือน ควรห่างจากที่พักพอสมควร และอยู่ในที่เนินสูง พื้นโรงเรือนไก่พื้นเมืองอาจจะปูด้วยแกลบ ขี้เลื่อย หรือฟางแห้งหนาอย่างน้อยประมาณ 4 เซนติเมตร และควรเปลี่ยนวัสดุรองพื้นโรงเรือนไก่พื้นเมืองทุก ๆ 3 เดือน เมื่อสังเกตเห็นว่าวัสดุรองพื้นดูดซับความชื้นได้ไม่ดีโดยนำไปทำประโยชน์ใน รูปของปุ๋ยหรือนำไปใช้เป็นส่วนประกอบของปุ๋ยหมักได้โรงเรือนไก่พื้น เมืองกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตร สูง 1 เมตร จะใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ได้ประมาณ 6-8 ตัว ถ้ามีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 2 เมตร ก็จะใช้เลี้ยงไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ได้ประมาณ 30-40 ตัว
ด้านที่ฝนสาดหรือแดดส่องมาก ๆ ควรมีผ้าใบ กระสอบ แฝก หรือเสื่อเก่า ๆ ห้อยทิ้งไว้ โดยเฉพาะมุมที่วางรังไข่ สำหรับคอนให้ไก่พื้นเมืองนอน ควรพาดไว้มุมใดมุมหนึ่งของโรงเรียน คอนนอนควรเป็นไม้กลมจะดีกว่าไม้เหลี่ยม ซึ่งไก่พื้นเมืองจะจับคอนนอนได้ดี และเป็นการป้องกันไม่ให้เกิดบาดแผลที่หน้าอกด้วย
ส่วนประกอบของการเลี้ยงไก่พื้นเมืองในส่วนอื่น ๆ คือ กรงขนอดเล็กสำหรับขังลูกไก่พื้นเมือง อาจจะมี 2-3 กรง หรือมากกว่านี้ บางคนใช้สุ่มแทนกรง แล้วแต่จำนวนลูกไก่พื้นเมือง ในบางครั้งอาจใช้กรงขังลูกไก่พื้นเมืองขนาดใหญ่ก่อนจำหน่าย หรือขังไก่ที่ไม่แข็งแรงได้

กระบวนการ/ขั้นตอน->

วิธีการคัดเลือกและผสมพันธุ์ไก่พื้นเมือง
1. เริ่มต้นจากสายพันธุ์ไก่ชนเป็นหลัก เนื่องจากไก่ชนให้ทั้งเนื้อและชนเก่ง รวมทั้งพันธุ์ค่อนข้างนิ่ง คือสม่ำเสมอและที่สำคัญคือ หาได้ง่ายมีอยู่ทั่วไปตามบ่อนหรือฟาร์มไก่ โดยสามารถขอซื้อได้จากเจ้าของไก่ชน โดยคัดเลือกจากตัวที่มีลักษณะดี
2. ควรมีคอกผสมพันธุ์ไว้เฉพาะ โดยมีอัตราส่วนพ่อต่อแม่ไม่เกิน 1:5 หรือถือหลักไว้ว่า ให้ตัวที่ดีที่สุดผสมกับตัวที่ดีที่สุด เท่านั้น อย่าเสียดายไก่ที่มีลักษณะไม่ดี เช่น ขาหรือเล็บหยิกเกิน ให้คัดออกทันที
3. อย่าให้มีการผสมเลือดชิด คือพ่อหรือแม่ผสมลูก หรือพี่น้องคอกเดียวกันผสมกัน ควรมีการเปลี่ยนสายเลือดบ่อยๆ โดยการเสาะแสวงหาพ่อพันธุ์ดีๆ มาเปลี่ยนสายเลือด

ข้อพึงระวัง ->

ข้อควรระวังในการใช้วัคซีน
- ควรเก็บวัคซีนไว้ในที่เย็น ไม่ให้แสงแดดส่องถึง
- หลอดวัคซีนชำรุดไม่ควรนำมาใช้
- วัคซีนที่ผสมแล้วไม่ควรใช้นานเกินกว่า 1 ชั่วโมง
- ควรฉีดวัคซีนให้ครบตามขนาด
- ไม่ควรฉีดวัคซีนแก่ไก่ที่กำลังเป็นโรค
วัคซีนจะให้ความคุ้มกันโรคได้ดีหลังจากฉีดวัคซีนไปแล้ว 2 สัปดาห์

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา