ความรู้สัมมาชีพชุมชน

เตาซูปเปอร์อั้งโล่

โดย : นายไกรสิน อรรถประจง วันที่ : 2017-04-01-12:54:27

ที่อยู่ : 69 ม.4 ต.นาบอน

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง (ตาซุปเปอร์อั้งโล่)

เตาอั้งโล่ เป็นเตาหุงต้มที่คนไทยคุ้นเคยมานานเมื่อ เทคโนโลยีรุ่งเรือง เตาแก๊ส เตาไฟฟ้า เตาไมโครเวฟ ถูกประดิษฐ์ และนำเสนอให้คนไทยได้เลือกใช้กันอย่างแพร่หลาย เพื่ออำนวย ความสะดวก ประหยัดและมีรสนิยม เมื่อมองอย่างผิวเผิน คล้ายว่า ปัจจุบัน เตาอั้ง

โล่คงมีผู้ใช้น้อยเต็มที  แต่เชื่อหรือไม่ ว่าความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น จากรายงานการสำรวจที่บริษัท พัฒนาประชากร จำกัด นำเสนอต่อกรมพัฒนาและส่งเสริม พลังงานกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม เมื่อปี พ.ศ. 2540  พบว่า การผลิตเตาอั้งโล่เพื่อสนองความ ต้องการของคนไทย เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง เป็นแนวทางความคิดแบบพบกันครึ่งทางระหว่างผู้ต้อง
การรักษาป่า  และผู้ต้องการ ใช้ฟืนและถ่านเป็นความร่วมมือของหลายหน่วยงาน
อาทิ กรมป่าไม้ กรมพัฒนา และส่งเสริมพลังงาน และ ผู้ผลิตเตาหุงต้มในประเทศไทย
เตาหุงต้มประสิทธิภาพสูง คือเตาอั้งโล่ที่ถูกปรับปรุงรูปทรง โดยใช้หลักวิชาการ เข้ามาช่วยทำให้รูปร่างเพรียว สวยงาม ทนทานมากขึ้น จุดไฟติดเร็วขึ้น ไม่มีควันและแก๊ส พิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ หุงต้มสุกเร็ว เก็บความร้อนได้นาน สามารถวางหม้อหรือภาชนะ ประกอบอาหารได้อย่างพอดีถึง 9  ขนาด ที่สำคัญคือ  ประหยัดฟืนและถ่านได้มากกว่า เตาอั้งโล่ธรรมดาถึงร้อยละ 15-20 อธิบายง่าย ๆ คือ เตาหุ้งต้มประสิทธิภาพสูง 1  เตา ใช้ถ่านน้อยกว่า เตาอั้งโล่รุ่นเก่าประมาณ 151 กิโลกรัมต่อปี  ถ้าถ่านกิโลกรัมละ 5  บาท ก็สามารถประหยัดเงิน

วัตถุประสงค์ ->

สร้างอาชีพ  สร้างรายได้  ประหยัดพลังงาน

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

๑. ดินเหนียวตามธรรมชาติ
๒. แกลบดำ/ขี้เถ้าขาว,ดำ
๓. น้ำ
๔. ถังสังกะสี
๕. พลาสติก/ผ้ายาง
๖. ฟืน
๗. สีน้ำมัน
 

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์ประกอบด้วย
๑.กรรไกร
๒. ฉาก
๓. มีดโค้ง
๔. เหล็กฉากเจาะประตูบน
๕. รางเหล็ก
๖. กล้องเจาะลิ้นเตารังผึ้ง/ตะแกรงเตาอั้งโล่
๗. ถังน้ำ
๘. จอบ
๙. พิมพ์เตา
๑๐. บุ๊งกี๋
๑๑.ค้อน
๑๒ ไม้อัดดิน
๑๓. จานตัดลิ้นรังผึ้ง
๑๔. เหล็กเสียบใต้ลิ้นเตา
๑๕. พลั่ว
๑๖. เครื่องปั๊มเบอร์(ตามขนาดของเตา)

กระบวนการ/ขั้นตอน->

การคัดเลือกดินเหนียว
1.  การหาแหล่งดิน มีความสำคัญต่อการ การผลิตเตาหุงต้มประสิทธิภาพสูงมาก  หากคัดเอาดินทั่วๆ ไป ที่มีคุณภาพไม่เหมาะสมมาผลิตเตาจะทำให้เกิดปัญหา  เช่น ปั้นขึ้นรูปได้ยาก  เกิดการแตกร้าว ไม่คงทน เมื่อเผาเสร็จแล้ว จากการทดลองและประสบการณ์ของช่างทำเตาตั้งแต่อดีต พบว่า ดินเหนียวที่เกิดจาก ตะกอนในที่ราบต่ำหรือตามลำน้ำเป็นวัตถุดิบที่ดีมากสำหรับปั้นเตา ดินเหนียวที่เกิดจาก ตะกอนในที่ราบต่ำหรือตามลำน้ำเป็นวัตถุดิบที่ดีมากสำหรับปั้นเตา ดินเหนียวที่ขุดจาก ท้องนา (ควรขุดลึกกว่า  0.5 เมตรลงไป)  ก็สามารถใช้ได้ดี   ดินเหนียวจะมีสีแตกต่างกัน เช่น สีเทาอ่อน สีเทาแก่ น้ำตาลเข้ม  แล้วแต่แหล่งที่มา แต่เมื่อเผาแล้วส่วนมากจะมีสีเหลืองหม่น  หรือสีเทา  ส่วนมากมักจะนำดินเหนียวมาผสมกับขี้เถ้าแกลบดำ หรือ  ดินเชื้อ เพื่อให้เกิดความเหนียว  ปั้นขึ้นรูปได้ง่ายและแข็งแรง เมื่อเผาแล้ว

2.  ดินเหนียว โดยทั่วไปนิยมใช้ดินเหนียวสีเทาเข้ม ในการปั้นเตา  เนื้อดิน ควรมีส่วนประกอบของอลูมินาและเหล็กออกไซด์สูงเพื่อสามารถหลอมละลายได้ที่อุณหภูมิไม่สูงนัก และควรมีซิลิก้า เป็นส่วนประกอบด้วยเพื่อเพิ่มความแข็งแรงแก่ชิ้นงาน หลังการเผา นอกจากนั้น ในดินเหนียวยังประกอบด้วย สารอินทรีย์ต่างๆ ทำให้เกิดรูพรุนในเนื้อเตาเพิ่มความ เป็นฉนวน อย่างไรก็ตาม ส่วนประกอบต่างๆ ควรอยู่ ในอัตราส่วนที่เหมาะกับขนาดของเมล็ดดินเหนียว หากมีเมล็ดขนาดให้เป็นส่วนมากก็มีจะเกิดการขี้เถ้าแกลบดำที่เตรียมไว้ผสมดินเหนียวแตกร้าวได้ง่าย ดังนั้น ดินเหนียวที่มาจากแหล่งที่แตกต่างกัน ก็อาจจะต้องมีการเตรียมดิน ที่แตกต่างกันไปด้วย

3.  ดินเชื้อ เป็นดินที่ทำมาจากส่วนผสมของดินเหนียวและแกลบ  นำมาปั้นเป็นก้อน แล้วเผาไฟจนสุก หลังจากนั้นจึงนำมาบดให้มีขนาดต่างๆ ตามที่ต้องการ แล้วใช้ ผสมกับดินเหนียวใหม่ ก่อนนำไปปั้นเป็นชิ้นนาน  โดยทั่วไปจะนำดินเชื้อมาผสมดินเหนียว ในปริมาณ 20-50% แล้วแต่ประเภทของชิ้นงานและคุณสมบัติของดินเหนียวที่นำมาใช้

การเตรียมดิน
1. การหมักดินเหนียว  ดินเหนียวที่จะนำมาใช้ ต้องสะอาด  ไม่มีเศษไม้ เศษหิน ถ้าเป็นก้อนใหญ่ก็ ควรทุบให้ย่อยเป็นก้อนเล็ก ๆ ก่อนหมัก ควรตากไว้ ให้แห้งอย่างน้อย  1 วัน แล้วนำลงบ่อหมัก แช่ไว้ในน้ำ นานประมาณ  12-24 ชั่วโมง จนดินอิ่มน้ำอย่างทั่วถึงแล้วนำมาเตรียมไว้ผสม

2. การนวดและผสมดิน นำดินที่หมักแล้วมานวดผสมกับ แกลบดำ นวดจนเข้ากัน ( ส่วนใหญ่จะใช้เครื่องนวดดินเพื่อเครื่องนวดผสมดิน และดินที่นวดแล้ว
ความสะดวกและการผสมที่ดีกว่า) โดยทั่วไปจะใช้ดินเหนียว 2  ส่วน ต่อขี้เถ้า แกลบดำ 1  ส่วนซึ่ง อัตราส่วนผสมนี้ ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ของดินแต่ละแห่งด้วย ขณะนวดผสมดินจะพรมน้ำตามไปด้วยเพื่อให้นวดได้ง่ายขึ้น  ส่วนผสมที่เข้ากันดีแล้ว  แล้วปิดด้วยพลาสติก หากยังไม่ใช้ทันทีเพื่อไม่ให้ ดินผสมแห้งเกินไป

ข้อพึงระวัง ->

ต้องอบ หรือ ตากให้แห้งก่อนนำไปใช้

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา