ความรู้สัมมาชีพชุมชน

image1

ปลูกผักปลอดสาร

โดย : นายวิชิต บุตรสมบัติ วันที่ : 2017-03-23-10:59:44

ที่อยู่ : บ้านเลขที่ 236 หมู่ที่ 2 ตำบลร่องคำ

ความเป็นมา / แรงบันดาลใจ / เหตุผลที่ทำ ->

ในการดำรงชีวิตประจำวัน คนในชุมชนมีการบริโภคผักและประกอบอาหารพื้นเมือง ต้องใช้พืชผักเป็นส่วนประกอบที่จำเป็นมาก  ซึ่งการปลูกผักส่วนมากจะใช้สารเคมีในการเร่งการเจริญเติบโตและการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช  ทำให้เกิดสารตกค้างในพืชผักเหล่านี้  ทำให้ผู้บริโภคได้บริโภคผักที่มีสารปนเปื้อน              แทบทุกมื้ออาหาร  จากการเจาะเลือดคนในชุมชนพบว่าส่วนมากอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่ไม่ปลอดสารพิษ ส่งผลให้ประชาชนเกิดโรคภัยต่างๆ มากมาย  จึงควรส่งเสริมอาชีพให้คนชุมชนปลูกผักปลอดสารพิษบริโภคในครัวเรือน

วัตถุประสงค์ ->

 1. ทำให้ได้พืชผักที่มีคุณภาพ ไม่มีสารพิษตกค้าง เกิดความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

 2. ช่วยให้เกษตรกรผู้ปลูกผักมีสุขภาพอนามัยดีขึ้น เนื่องจากไม่มีการฉีดพ่นสารเคมีป้องกัน  และกำจัดศัตรูพืช ทำให้เกษตรกรปลอดภัยจากสารพิษเหล่านี้ด้วย

 3. ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรด้านค่าใช้จ่ายในการซื้อสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

 4. ลดปริมาณการนำเข้าสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืช

 5. เกษตรกรจะมีรายได้เพิ่มมากขึ้น เนื่องจากผลผลิตที่ได้มีคุณภาพ ทำให้สามารถขายผลผลิตได้ในราคาสูงขึ้น

 6. ลดปริมาณสารเคมีป้องกันและกำจัดศัตรูพืชที่จะปนเปื้อนเข้าไปในอากาศและนํ้า  ซึ่งเป็นการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และลดมลพิษของสิ่งแวดล้อมได้ทางหนึ่ง

วัตถุดิบ (ถ้ามี) ->

เมล็ดพันธุ์ผักต่าง ๆ  ปุ๋ยอินทรีย์

อุปกรณ์ ->

อุปกรณ์เตรียมดิน จอบ 

อุปกรณ์ทำปุ๋ยอินทรีย์น้ำหมักชีวภาพ ถังบรรจุ ปุ๋ยคอก แกลบดำ แกลบดิบ รำละเอียด กากน้ำตาล

กระบวนการ/ขั้นตอน->

ในการปลูกผักปลอดภัยจากสารพิษนั้น จะใช้หลักการปลูกพืชผักโดยการใช้สารเคมีในการผลิตให้น้อยที่สุด หรือใช้ตามความจำ เป็นและจะใช้หลัก  การป้องกันและกำจัดศัตรูพืชโดยวิธีผสมผสานหรือไอพีเอ็ม  แทนแต่การที่จะป้องกันและกำจัดศัตรูพืชให้ได้ผลนั้นจะต้องเลือกวิธีที่ประหยัดเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเข้าใจเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

การเตรียมเมล็ดพันธุ์

           ก่อนนำ เมล็ดพันธุ์ผักไปปลูกในแปลงปลูกหรือแปลงกล้าเกษตรกรควรทำ ความสะอาดเมล็ดพันธุ์ก่อน ตามขั้นตอนดังนี้

1. คัดแยกเมล็ดพันธุ์ โดยการคัดเมล็ดที่เสีย เมล็ดวัชพืชที่มีอยู่ปะปน และสิ่งเจือปนต่างๆออก

2. แช่เมล็ดพันธุ์ในนํ้าอุ่น ที่อุณหภูมิ 50-55 องศาเซลเซีย สเป็น เวลา 15-30 นาที จะช่วยลดปริมาณเชื้อโรคที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์และยังกระตุ้นการงอกของเมล็ดอีกด้วย

3. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรครานํ้าค้าง และโรคใบจุดควรคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารเคมี เช่น เมทาแล็กซิน 35 เปอร์เซ็นต์ SD (เอพรอน) และไอโปรไดโอน (รอฟรัล) อัตรา 10 กรัม / เมล็ด พันธุ์ 1 กิโลกรัม

 

 

ข้อพึงระวัง ->

พืชบางชนิดเมื่อได้รับสารนี้แล้วอาจเกิดอาการใบไหม้เหี่ยวย่นหรือต้นแคระแกร็น ดังนี้เมื่อพบอาการต่างๆ เหล่านี้      ก็ควรจะงดใช้สารสกัดจากสะเดาทันทีชนิดของแมลงที่สามารถกำจัดได้ด้วยสะเดา

1. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลดี ได้แก่ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว หนอนกระทู้ชนิดต่างๆ หนอนกัดกินใบ หนอนเจาะยอด หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนหัวกระโหลก

2. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลปานกลาง ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น หนอนเจาะ สมอฝ้าย หนอนต้นกล้าถั่ว แมลงหวี่ขาว แมลงวันทอง  เพลี้ยไก่แจ้   เพลี้ยอ่อน

3. ชนิดที่ใช้แล้วได้ผลน้อย ได้แก่ หนอนเจาะฝักถั่ว เพลี้ยไฟ ไรแดง มวนและด้วงชนิดต่างๆ พืชผักที่ใช้สารสกัดจากสะเดาได้ผล ได้แก่ ผักคะน้า กวาง ผักกาดหอม กะหลํ่าปลี กะหลํ่าดอก แตงกวา แตงโม แตงเทศ มะเขือเทศ มะเขือยาว หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวโพดอ่อน พริกขี้หนู ตำลึง มะนาว มะกรูด

รูปประกอบ -> image1 image2 image3

เว็บไซต์สัมมาชีพชุมชนจังหวัดกาฬสินธุ์
กรมการพัฒนาชุมชน กระทรวงมหาดไทย

โทรศัพท์ :
Email :
ที่อยู่ :

เกี่ยวกับเรา