กลับไปหน้าค้นหา

นางพิธุกานต์ มาตรน้อย

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 81 หมู 4 ตำบล : นาบินหลา อำเภอ : เมืองตรัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ปวส.
ประวัติ :

                สืบเนื่องจากดั้งเดิมบรรพบุรุษได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราอยุ่ก่อนแล้ว  พอเรียนจบและพร้อมที่จะประกอบอาชีพได้บรรพบุรุษก็ได้สอนให้ฝึกปลูกยางพาราและฝึกกรีดยางพารา  จนยึดเป็นอาชีพหลัก  และได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามาจนถึงปัจจุบัน


ความสำเร็จ :

  1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ

  2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น

  3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา


ความชำนาญ : สวนยางพารา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  •                 สืบเนื่องจากดั้งเดิมบรรพบุรุษได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพาราอยุ่ก่อนแล้ว  พอเรียนจบและพร้อมที่จะประกอบอาชีพได้บรรพบุรุษก็ได้สอนให้ฝึกปลูกยางพาราและฝึกกรีดยางพารา  จนยึดเป็นอาชีพหลัก  และได้ประกอบอาชีพทำสวนยางพารามาจนถึงปัจจุบัน


    1. การเตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง

    2. ระยะปลูกขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ สภาพพื้นที่ และเขตพื้นที่จะปลูกยาง

    3. ชนิดของต้นพันธุ์ที่นิยมใช้ปลูกกันมากในปัจจุบันคือ ต้นยางชำถุง ขนาด 1-2 ฉัตร ซึ่ง



    ก่อนปลูกหลังจากเตรียมพื้นที่และกำหนดระยะปลูกเรียบร้อยแล้ว ต้องขุดหลุม กว้างxยาวxลึก เท่ากับ 50x50x50 เซนติเมตร แยกดินบนดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินให้ร่วน แล้วผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตกับดินบนอัตรา 170 กรัม/หลุม




    1. ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการปลูกยาง คือ ต้นฤดูฝน

    2. การปลูกช่อม หลังจากปลูกแล้ว ถ้ามีต้นยางตาย ให้รีบปลูกซ่อมด้วยต้นยางชำถุงให้



    เสร็จภายในช่วงฤดูฝน




    1. การตัดแต่งกิ่ง

       ในช่วงยางเล็ก จะตัดแต่งกิ่งที่อยู่ต่ำกว่า 2 เมตร ออกให้หมด ส่วนยางใหญ่จะตัดกิ่งที่



    แน่นทึบ กิ่งแห้ง และกิ่งที่เป็นโรคออก\\\\



     



     




    • 2    -



     




    1. การใส่ปุ๋ย

       ปุ๋ยยางมี 3 สูตร ซึ่งเหมาะกับอายุยางและพื้นที่ปลูกยางต่างกัน ดังนี้



    1. สูตร 20-8-20 เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดที่ปลูกในภาคใต้และภาคตะวันออก



    2. สูตร 20-10-12 เหมาะสำหรับยางก่อนเปิดกรีดที่ปลูกในภาคเหนือและภาค



    ตะวันออกเฉียงเหนือ



    3. สูตร 30-5-18 เหมาะสำหรับยางเปิดกรีดแล้วในทุกพื้นที่ปลูกยาง


    1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ

    2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น

    3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา


    1. โรคที่สำคัญสำหรับยางเล็ก คือ โรคโคนต้นแห้ง และโรคตายจากยอด การป้องกันที่ดี



    คือ ปฏิบัติดูแลรักษาให้ถูกต้องตามคำแนะนำ คลุมโคนยางในช่วงฤดูแล้ง และควรปลูกในที่ที่มีหน้าดินลึกกว่า 1 เมตร เท่านั้น ส่วนยางที่เปิดกรีดแล้ว โรคที่สำคัญ คือ โรคใบร่วง ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ โรคราสีชมพู โรคเส้นดำ โรคเปลือกเน่า โรคเปลือกแห้ง และโรคราก การป้องกันที่ดีที่สุดคือ การดูแลรักษาให้ถูกต้องตามคำแนะนำ ทำสวนยางให้โปร่ง ใส่ปุ๋ยสม่ำเสมอและกรีดยางตามระบบครึ่งลำต้น วันเว้นวัน




    1. แมลงสำหรับยางไม่เป็นปัญหา อาจมีอยู่บ้าง คือ ปลวก ซึ่งกัดกินต้นยางเล็กหรือต้นยาง



    ปลูกใหม่ การป้องกันกำจัดใช้สารเคมีฟีโพรนิล อัตรา 80 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 20 ลิตร ราดโคนต้นให้ทั่วบริเวณราก ต้นละ 1-2 ลิตร

  • -

  • ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารามาเป็นเวลา 15  ปี