กลับไปหน้าค้นหา

นายประสิทธิ์ บัวเรือง

  • Facebook ID: -
  • Line ID: -
  • Email: -

ที่อยู่ 49/3 หมู 2 ตำบล : นาบินหลา อำเภอ : เมืองตรัง จังหวัด: ตรัง
โทรศัพท์ : -
การศึกษา : ประถมศึกษาปีที่ 4
ประวัติ :

ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเกษตรกรในภาคใต้  และเป็นอาชีพดั้งเดิมของ  ครอบครัว  ซึ่งประกอบอาชีพทำสวนยางกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  พอได้เริ่มประกอบอาชีพก็ยึดอาชีพทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักมาจนถึงปัจจุบัน  


ความสำเร็จ :

1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ



2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น



3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา


ความชำนาญ : สวนยางพารา


ข้อมูลปราชญ์ชาวบ้าน

  • ยางพาราเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเกษตรกรในภาคใต้  และเป็นอาชีพดั้งเดิมของ  ครอบครัว  ซึ่งประกอบอาชีพทำสวนยางกันมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ  พอได้เริ่มประกอบอาชีพก็ยึดอาชีพทำสวนยางพาราเป็นอาชีพหลักมาจนถึงปัจจุบัน  

  • 1. การกำหนดระยะปลูก  ต้นยางจะเจริญเติบโตได้ดีที่สุดต้องมีพื้นที่ต่อต้นไม่น้อยกว่า 20



    ตารางเมตรสำหรับระยะปลูกในการปลูกยาง ถ้าเป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิม ระยะปลูกที่เหมาะสมคือ 2.5 x 8 เมตร (80 ต้นต่อไร่) หรือ 3 x 7 เมตร (76 ต้นต่อไร่)

                                                 2. การกำหนดแถวหลัก ควรวางแถวหลักตามแนวทิศตะวันออก-ตะวันตก และให้ขวางทางการไหลของน้ำเพื่อลดการชะล้างผิวหน้าดินและการพังทลายของดิน โดยกำหนดให้แถวหลักห่างจากแนวเขตสวนยางเก่าหรือสวนยางข้างเคียงไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร ขุดคูล้อมตามแนวเขตสวนทั้งนี้เพื่อป้องกันโรครากและการแก่งแย่งธาตุอาหาร หลังจากนั้น วางแนวปลูกพร้อมปักไม้ชะมบตามระยะปลูกที่กำหนด สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดและวางแนวปลูกตามแนวระดับ



                                 3. การขุดหลุมปลูก เมื่อปักไม้ชะมบตามระยะปลูกแล้ว ทำการขุดหลุม โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบโดยตลอดไม่ต้องถอนไม้ออก หลุมมีขนาด กว้างxยาวxลึก 50x50x50 เซนติเมตร ดินที่ขุดแบ่งเป็น 2 ส่วน ดินบนและดินล่างกองไว้คนละด้าน ผึ่งแดดไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ เมื่อดินแห้งแล้วย่อยดินบนให้ละเอียดพอควรใส่ลงก้นหลุม แล้วตามด้วยดินล่างที่ผสมปุ๋ยหินฟอสเฟตสูตร 0-3-0 (25% Total P2Os) อัตรา 170 กรัมและปุ๋ยอินทรีย์ 3-5 กิโลกรัมต่อหลุมใส่ไว้ด้านบน

     

  • 1. ปริมาณผลผลิตที่ได้รับ



    2. รายได้จากการขายจำหน่ายผลผลิตเพิ่มขึ้น



    3. ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ปลูกยางพารา

  • 1. โรคใบจุดนูนระบาดกับต้นยางได้ทุกระยะการเจริญเติบโต ตั้งแต่ระยะต้นกล้าจนกระทั่ง



    เจริญเติบโตเต็มที่สามารถเข้าทําลายใบและกิ่งก้านที่มีสีเขียว บางครั้งกิ่งก้านเป็นโรครุนแรงมากจนทําให้ยอดแห้งตายไปด้วย

               2.โรคราแป้งระบาดบนใบยางอ่อนที่แตกออกมาใหม่ภายหลังจากการผลัดใบประจําปีจึงเป็นสาเหตุให้ใบยางร่วงอีกครั้งหนึ่งและกิ่งแขนงบางส่วนอาจแห้งตายความรุนแรงของโรคจะเปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะการผลัดใบของต้นยาง อายุใบ ความต้านทานโรคของพันธุ์ยาง สภาพพื้นที่ของแปลงปลูก และสภาพอากาศในช่วงที่ต้นยางผลิใบใหม่ โรคนี้นอกจากทําให้เกิดอาการทางใบแล้วยังทําให้ดอกร่วง 

  • -

  • ประกอบอาชีพเกษตรกรสวนยางพารามาเป็นเวลา 20  ปี