News ข่าวประชาสัมพันธ์ 

 
“คืนชีวิตให้แผ่นดิน” พช.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี รวมพลังเอามื้อสามัคคี “โคก หนอง นา พช.” ตามหลักกสิกรรมธรรมชาติ น้อมนำแนวพระราชดำริ สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ยั่งยืน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


  

วันที่ 26 มิถุนายน 2564 ภายใต้การอำนวยการของ นายสฤษดิ์ วิฑูรย์ ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี มอบหมายให้สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดอุบลราชธานี นำโดย นายคมกริช ชินชนะ พัฒนาการจังหวัดอุบลราชธานี นางสาวนันท์นภัส สุวรรณา พัฒนาการอำเภอน้ำยืน มอบหมาย เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน นักพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ (นพต.) และผู้นำชุมชน ลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมลงแขก เอามื้อสามัคคี ตามโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ณ แปลง (Househole Lab Model for quality of life : HLM) นางศุภาวัน วงค์คำ บ้านชัยเจริญ หมู่ที่ 12 ตำบลโซง  อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี

สำหรับแปลงครัวเรือนต้นแบบ HLM ของ นางศุภาวัน วงค์คำ ที่ตั้งแปลง บ้านชัยเจริญ หมู่ที่ 12 ตำบลโซง อำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี ใช้พื้นที่เข้าร่วมโครงการคือ 3 ไร่ ประเภทดินร่วนปนทราย รูปแบบ 2:3 โดยกิจกรรมกาเอามื้อสามัคคี ที่สำคัญในครั้งนี้ ได้แก่การ “ห่มดิน” หรือ “คลุมดิน” โดยใช้ฟาง เศษหญ้า หรือใบไม้ที่สามารถย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ใส่อาหารให้แก่ดิน ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพลงไป เพื่อให้อาหารแก่ดิน แล้วดินจะปล่อยธาตุอาหารให้พืช โดยกระบวนการย่อยสลายของจุลินทรีย์เรียกหลักการนี้ว่า “เลี้ยงดิน ให้ดินเลี้ยงพืช” การปฏิบัติเช่นนี้ จะทำให้ดินกลับมามีชีวิต เป็นการ “คืนชีวิตให้แผ่นดิน” ประโยชน์ของการห่มดิน เป็นที่อยู่อาศัยของจุลินทรีย์ เป็นอาหารให้สัตว์หน้าดิน โดยวิธีนี้ เป็นการระเบิดดินที่แห้งแข็ง ให้มีความชุ่มชื้น เพราะฟางห่มคลุมดินเพื่อลดการระเหยของน้ำในดิน ปุ๋ยคอกที่ใส่เพื่อเพิ่มอินทรียวัตถุ น้ำหมักทำหน้าที่ย่อยสลายทั้งปุ๋ยและฟาง ให้กลายเป็นอินทรียวัตถุได้เร็วขึ้น / การทำสะพานไม้สำหรับในการสัญจรข้ามคลองไส้ไก่เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานและสำหรับให้กับแขกผู้ที่สนใจเข้ามาศึกษาดูงานภายในแปลง / ทำเชื้อเห็ดโคน(เห็ดปลวก) ไว้สำหรับเพาะปลูกและจำหน่าย ซึ่งโดยปกติแล้ว เห็ดโคน เป็นเห็ดที่ค่อนข้างหายาก และออกผลผลิตให้ทานปีละครั้ง จึงทำให้มีราคาค่อนข้างสูง / ทำน้ำหมักรสเปรี้ยว หรือ ทำน้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยวโดย วัตถุดิบที่ใช้ ได้แก่ มะกรูด มะนาว กระเจี๊ยบ และพืชสมุนไพรที่มีรสเปรี้ยวทุกชนิด โดยมีสรรพคุณ ป้องกันแมลง เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันให้กับพืช  โดยสำหรับการทำน้ำหมักสมุนไพรจะมีอยู่ทั้งหมด 7 รส ด้วยกัน ได้แก่ น้ำหมักสมุนไพรรสจืด น้ำหมักสมุนไพรรสขม  น้ำหมักสมุนไพรรสฝาด น้ำหมักสมุนไพรรสเบื่อเมา  น้ำหมักสมุนไพรรสเปรี้ยว  น้ำหมักสมุนไพรรสหอมระเหย น้ำหมักสมุนไพรรสเผ็ดร้อน โดยจะทำการเลือกเอาสมุนไพรรสต่างๆ มาทำน้ำหมักจุลินทรีย์ชีวภาพ เพื่อประโยชน์ทางการเกษตร ใช้ได้กับนาข้าว และพืชผักทุกชนิด / ปลูกกล้วย  ปลูกสับปะรด ปลูกบัวแดง เป็นต้น เป็นการปลูกพันธุ์ไม้ให้มีสภาพใกล้เคียงกับป่าธรรมชาติ เพื่อประโยชน์ต่อความสมดุลของระบบนิเวศ ใช้พื้นที่ที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งจัดอยู่ในการเกษตรประเภทเกษตรผสมผสาน โดยเน้นการปลูกพืชหลากหลายชนิดให้อยู่ร่วมกันในแปลงเดียวกัน แต่มีความสูงต่างระดับกัน

โอกาสนี้ นางศุภาวัน วงค์คำ เจ้าของแปลง HLM มีความพึงพอใจและเปิดเผยว่า “ขอบคุณสำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอน้ำยืน ส่วนราชการ นักพัฒนาพิ้นที่และเจ้าหน้าที่ที่ได้ช่วยเหลือและสนับสนุนโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พช.” ที่มีประโยชน์ต่อประชาชนอย่างมากในครั้งนี้ ตนรู้สึกดีใจและมีความสุขได้ที่เข้าร่วมโครงการฯ นี้มาก หลังจากที่เข้ารับการอบรม และขุดปรับพื้นที่แปลง ตลอดจนการเอามื้อสามัคคี ตามแนวทางของกรมการพัฒนาชุมชน และหลักกสิกรรมธรรมชาติ ในครั้งนี้ สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ กรมการพัฒนาชุมชน และรัฐบาล อีกครั้ง ที่นำงบประมาณมาช่วยเหลือและสนับสนุนพี่น้องประชาชนในยามที่กำลังประสบปัญหาจากภัยโควิด-19 ให้สามารถพึ่งตนเองและพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างยั่งยืนต่อไป”


ข่าวโดย สพจ.อุบลราชธานี
ลงวันที่ วันที่ 26 มิถุนายน 2564
จำนวนผู้อ่าน 290 คน

แสดงความคิดเห็น